วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สิทธิการที่จะตายเอง

http://www.wattiabsilaram.net/upload/showthread.php?t=2224

ลองตายไม้

สิทธิการตายที่เราเลือกเองได้



ทรงธรรม จีราศักดิ์ จุฬาลักษณ์

slide sport car

สิทธิในการที่จะตาย รู้ไว้ๆๆๆๆ

ปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยยืดและต่ออายุการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่ล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยในวาระสุดท้ายบางรายมีชีวิตอยู่ด้วยความช่วยเหลือของเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยยืดอายุการทำงานของร่างกายออกไป ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยหายใจ เครื่องปั๊มหัวใจ สายระโยงระยางที่ห้อยแขวนทั่วร่างเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงร่างกายที่ใกล้หมดสภาพ ทั้งหมดทั้งปวงเป็นไปเพื่อยืดวันเวลาในการตายออกไป

คนจำนวนหนึ่งเห็นว่า ภาวะที่ผู้ป่วยมีชีวิตในสภาพ “ฟื้นก็ไม่ได้ ตายก็ไม่ลง” อยู่ด้วยเครื่องจักรนั้น เป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะดำรงตนอยู่อย่างมีคุณภาพ และไม่ปรารถนาที่จะเห็นตัวเองตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น

การเลือกที่จะไม่อยู่หรือตายในสภาพไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นที่กล่าวมา ทำให้เกิดประเด็นการพูดคุยเรื่อง สิทธิในการตาย อย่างกว้างขวาง ซึ่งมีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และผู้ที่คัดค้าน

เมื่อกล่าวถึง สิทธิที่จะตาย หลายคนอาจเข้าใจว่า เป็นการให้สิทธิที่จะยุติการรักษาพยาบาล หรือให้แพทย์กระทำการใด ๆ เพื่อเร่งการตาย ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการส่งเสริมการฆ่าตัวตาย เป็นการฆ่า ซึ่งเป็นเรื่องผิดบาป

ในเมืองไทย การเร่งการตายด้วยเทคโนโลยี (Active Euthanasia –การุณฆาต) หรือการปฏิเสธให้การรักษาผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้ ทั้งในแง่ของกฎหมาย จริยธรรมทางวิชาชีพทางการแพทย์ รวมถึงในมุมมองทางศาสนาด้วย

พระไพศาล วิสาโล กล่าวว่า ในสังคมที่ไม่มอง ความเจ็บปวด ทุพลภาพ หรือความตาย เป็นศัตรู จะยอมรับ โอบกอดความตายด้วยปัญญา เห็นเป็นการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ไม่พยายามผลักไส หรือหนีไปด้วยการเร่งความตาย หรือแม้แต่ยื้อออกไปเพราะยอมรับความตายไม่ได้

ผู้ที่ฆ่าตัวตายไม่ใช่ผู้ที่ยอมรับความตาย แต่ใช้ความตายยุติปัญหาบางอย่าง และผู้ที่ฆ่าตัวตายมักกระทำการในเวลาที่จิตใจเป็นอกุศล คือ เศร้าหมอง หดหู่ น้อยเนื้อต่ำใจ โกรธ เคียดแค้น หรือหลงผิด การตายที่จมอยู่ในความทุกข์เช่นนี้ย่อมไม่ใช่การตายที่ดีงาม และอาจสืบเนื่องไปสู่สภาวะหลังการตายด้วย

สิทธิในการตาย (ดี)

เมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะไร้การเยียวยา สภาพร่างกายเสื่อมจนฟื้นคืนไม่ได้อีกแล้ว สิทธิการตาย น่าจะอยู่ที่การปล่อยให้ขั้นตอนการตายเป็นไปตามธรรมชาติ ปราศจากการแทรกแซง ฉุดยื้อด้วย ยา และเครื่องมือทางการแพทย์ (Passive Euthanasia) และก็ไม่ได้หมายความว่า แพทย์จะยุติการรักษา เพียงแต่การรักษาในระยะนี้เป็นไปเพื่อเยียวยาอาการ บรรเทาความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน แต่จะไม่ทำอะไรรุกเร้า เร่งหรือยื้อความตายอีกต่อไป ถ้าหากจะยืดการตายออกไปก็เป็นไปเพื่อสร้างความพร้อมทางจิตวิญญาณให้กับผู้ที่กำลังจะจากไป

หนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้า (พินัยกรรมชีวิต)

การตายอย่างสงบ เป็นธรรมชาติและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีและพึงได้รับการเคารพ ยอมรับจากผู้อื่น สังคม และกฎหมาย แต่ปัญหาที่ทำให้หลายคนไม่สามารถตายอย่างมีศักดิ์ศรีได้ เกิดขึ้นเนื่องจากไม่ได้แสดงเจตจำนงในการใช้สิทธินี้ไว้ล่วงหน้า หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันขึ้นที่เราไม่อยู่ในสภาพที่จะบอกกล่าวความต้องการที่จะตายดีได้ ก็จะมีผู้อื่น ญาติ แพทย์ มาตัดสินแทนเรา ซึ่งก็เข้าใจได้ว่า ญาติอาจจะไม่รู้ความจริงว่า ผู้ป่วยอยู่ในภาวะใกล้ตายแล้ว หรือยังหวังที่จะให้คนที่ตนรักหายและกลับบ้านได้ยังมีอยู่ตลอดเวลา หรือแม้รู้แต่ก็คิดว่าต้องรักษาพยาบาลให้เต็มที่เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณให้กับคนที่ตนรัก ยิ่งในครอบครัวที่มีญาติพี่น้องมาก ยิ่งยากแก่การตัดสินใจ

ปัจจุบันเราจึงเริ่มพูดถึงแนวคิด เรื่อง พินัยกรรมชีวิต (Living will) คือให้มีการแสดงความจำนงไว้ล่วงหน้าได้ อาจจะระบุแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ที่เราต้องการ หรือไม่ต้องการในกรณีต่างๆไว้

ในหลายประเทศมีกฎหมายรับรองในเรื่องนี้ และล่าสุด ประเทศไทยก็มีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งระบุถึงสิทธิในการจากไปอย่างสงบตามธรรมชาติไว้ด้วย

“บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

เจตนารมณ์ของกฎหมายนี้เป็นไปเพื่อรับรองสิทธิของผู้ที่ปรารถนาจะจากไปอย่างสงบ ตามความเชื่อของตน และคาดว่าจะช่วยลดทอนปัญหาความขัดแย้งระหว่างญาติพี่น้อง และ ทีมผู้ให้การรักษา ซึ่งหลายครั้งจะพบว่ามีปัญหาระหว่างแนวคิดที่จะยื้อชีวิตและความเห็นที่ต้องการปล่อยการตายให้เป็นไปตามธรรมชาติ

ทั้งนี้ แม้ผู้ที่ปรารถนาจะจากไปอย่างสงบจะได้แจ้งความประสงค์ไว้ หากถึงเวลาที่ตัวเขาไม่สามารถบอกกล่าว ชี้แจงความต้องการได้ ก็คงขึ้นอยู่กับญาติ และผู้ให้การรักษาว่าจะเคารพในความปรารถนาของผู้ที่กำลังจะจากไปหรือไม่

การร้องขอ “การตายดี” จะเป็นไปได้ ก็เมื่อเราได้สื่อสารเรื่องความตายกันอย่างเนือง ๆ ได้รับรู้ความคิด ความเห็น และ ความเชื่อของกันและกัน และท้ายที่สุด ถ้าเราเคารพในความต้องการของผู้ที่เรารัก และไม่เห็นความตายเป็นศัตรูที่ต้องเอาชนะ

แล้วคุณคิดว่าเป็ยศิลปะไหม






ศิลปะ กับ อนาจาร

.........ธรรมชาตินี่แปลกดีนะ เขาช่างเสกสรรปั้นแต่งให้สรรพสิ่งเกิดมามีลักษณะตรงกันข้ามกันควบคู่กันเพื่อสร้างสมดุลซึ่งกันและกัน หากเราจะจับคู่สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะตรงกันข้าม เช่น ดี/ชั่ว, มืด/สว่าง, แท้/เทียม, สูง/ต่ำ........ศิลปะ/อนาจาร........สิ่งที่ตรงข้ามกันทั้งหลายจะแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งกันไม่เข้ากัน อยู่กันคนละด้าน ในการตีความหรือการให้คำนิยามเพียงด้านเดียวก็พออนุมานถึงความหมายของสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามได้ ดังนั้นถ้าเรารู้ความหมายของศิลปะก็จะนึกถึงความหมายของอนาจารได้เช่นกัน
........ศิลปะ คือ อะไร???ถ้าจะตอบแบบหลักวิชาเบื้องต้นอาจตอบได้ว่า ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น, ศิลปะ คือ การเลียนแบบธรรมชาติ, ศิลปะ คือการแสดงออกเกี่ยวกับความเชื่อ, ศิลปะ คือการถ่ายทอดความงาม ฯลฯ แต่ละมุมมองมีคำอธิบายอย่างมีเหตุผลทำให้เข้าใจในความหมายของศิลปะได้
........ความเป็นศิลปะหรือตัวตนของศิลปะคืออะไร???
........ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าศิลปะที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมามีหลายแขนง เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี นาฏศิลป์ วรรณกรรม ซึ่งโดยปกติทั้ง 6 แขนง ใช้วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการเป็นสื่อในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระแตกต่างกัน ศิลปะแต่ละแขนงดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของศิลปินให้ผู้ชมหรือผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตามด้วยความรู้สึกของตนเอง เช่น ความรู้สึกสวยงาม อิ่มเอิบ เศร้าหมอง หยิ่งยะโส รัก อบอุ่น ตื่นเต้น อ้างว้าง หดหู่ ฯลฯ ทั้งนี้ผู้ชมหรือผู้ฟังจะเกิดความรู้สึกได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรู้ความชำนาญหรือทักษะของศิลปิน ประสบการณ์ของผู้ชมหรือผู้ฟังเอง สังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
........หลักการพิจารณาศิลปะกับอนาจาร
........อาจารย์อารี สุทธิพันธ์ ผู้บุกเบิกงานศิลปศึกษาในเมืองไทย ได้เสนอหลักพิจารณาความแตกต่างของศิลปะกับอนาจารซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
........1) ให้ดูที่เจตนาของผู้ทำงานนั้น ๆ ว่ามีเจตนาอะไรแฝงอยู่หรือไม่ เช่น การใช้กิเลสพื้นฐานของสัญชาตญาณเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจแล้วแอบอ้างว่าเป็น "ศิลปะ" เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของตนเอง
........2) ให้ดูปฏิกริยาของผู้ชม ถ้าเป็นงานศิลปะผู้ชมจะสามารถดูได้อย่างเปิดเผย แต่งานอนาจารจะดูอย่างลับ ๆ ศิลปะจะส่งเสริมให้มนุษยชาติมีความเจริญงอกงามด้านนแวคิดและสติปัญญามากกว่าการกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ใฝ่ต่ำ
........3) งานศิลปะยิ่งนานไปยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆ แต่อนาจารยิ่งนานยิ่งเสื่อมค่าลง ศิลปะเป็นผลงานของมนุษย์ที่แสดงออกให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์อันแฝงด้วยจิตวิญญาณหรือความรู้สึกที่ต่างไปจากผลงานที่เป็นสัญชาตญาณของสัตว์เดรัจฉานทั่วไป
........4) ให้ดูที่ฝีมือหรือความสามารถในการถ่ายทอดของศิลปินว่าถ่ายทอดได้อารมณ์มากน้อยเพียงใด ความละเอียดอ่อนที่ไวต่อการรับรู้ของศิลปินผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการระบายหรือถ่ายทอดความรู้สึกเหล่านี้แตกต่างกัน ทำหใคณค่าของศิลปะแตกต่างกันด้วย
........การพิจารณาเพียง 4 หลักนี้ก็สามารถตัดสินได้แล้วว่า ผลงานชิ้นใดที่เรียกว่าศิลปะหรืออนาจาร

แค่ไหนกันถึงจะเรียกว่า..อนาจาร

อนาจาร คำนี้ทุกคนคงเคยได้ยิน นางแบบแก้ผ้าอนาจาร นมหกอนาจาร ไอ้นั่นอนาจาร ไอ้นี่อนาจาร เราลองมาดูกันว่า แท้จริงแล้ว การกระทำแค่ไหนถึงจะเรียกได้ว่า อนาจาร ตามกฎหมาย

กฎหมายกำหนดความผิดฐานอนาจารไว้ว่า การกระทำใดที่ควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล โดยการเปลือยหรือเผยร่างกาย หรือทำการลามกอย่างอื่น โดยไม่มีโทษจำคุกแต่อย่างใด มีแต่เพียงโทษปรับไม่เกิน 500 บาท คืออนาจารยังไงก็เสียไม่เกิน 500 บาทนั่นเอง

กฎหมายบอกว่า แม้ตัวผู้กระทำเองไม่ขายหน้า แต่ถ้าควรขายหน้าก็ถือว่าอนาจารแล้ว ส่วนจะมีความผิดหรือไม่อย่างไรก็ต้องดูข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป เช่น การวิ่งแก้ผ้าเพื่อถ่ายภาพยนต์กลางที่สาธารณะชน เอามาเปรียบเทียบกับการวิ่งแก้ผ้าเพราะถูกคนบุกเข้ามาทำร้ายขณะกำลังอาบน้ำ จะเห็นว่า กรณีแรกผิดฐานอนาจาร ส่วนกรณีหลังไม่ผิด เพราะขาดเจตนา

ลองมาดูอีก เรื่องการ(เกือบ)เปลือยกายอาบน้ำบนรถ แล้วแห่ไปรอบเมือง จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ขัดกับวัฒนธรรมไทย กฎหมายก็มาจากวัฒนธรรมที่ดีงามนั่นเอง แม้ว่าการอาบน้ำนั้นจะมีการเอากระจกมาบัง ใส่ผ้าสีเนื้อไว้ด้านใน แต่ก็ถือว่าเป็นการเปิดเผยร่างกายแล้ว เมื่อเทียบกับคุณย่าคุณยายที่อาบน้ำในลำคลองตามบ้านนอกที่อยู่ติดแม่น้ำ จะเห็นได้ว่าเจตนามันต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม สมัยนี้แล้ว การอาบน้ำ อาบท่าก็ควรกระทำในห้องน้ำตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่งั้นคุณย่าคุณยาย อาจต้องไปโรงพัก เพราะผิดฐานอนาจารได้

เช่นกันกับกรณี การแก้ผ้ารำแก้บน คุณอาจจะไปบนบานอย่างไรไม่มีใครทราบ แต่หากต้องแก้ผ้าเพื่อแก้บนของคุณแล้ว ก็ต้องกระทำให้มิดชิด หากกันคนออกไปไม่ได้ ก็ต้องหาผ้าหรืออะไรมาปิดบังรอบบริเวณไว้ ไม่งั้นก็อาจผิดอนาจารได้ เช่นเดียวกันกับเรื่องเดินแฟชั่นโชว์ คือว่าจะเดินไม่ให้เต้ามันหลุดก็ทำได้ แต่ไม่ทำ จงใจปล่อยเต้าออกมา ก็น่าจะผิดฐานอนาจารเช่นกัน แต่ถ้าหากระมัดระวังดีแล้ว ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง การจะทำอะไรต้องดูให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยด้วย จะได้ไม่มีปัญหา

ที่ชอบอ้างกันว่าโกอินเตอร์ คนอื่นเค้าก็ทำได้นั้น แท้จริงเป็นการอ้างแบบเลื่อนลอย ต้องดูว่าคนที่อ้างถึงนั้นมันใคร และอยู่ประเทศไทย บางประเทศการเปลือยการไม่มีความผิด แต่ไม่ใช่ประเทศไทย เราอยู่ในประเทศไทยก็ควรเคารพกฎหมายไทย ที่สำคัญคือ ควรมีจิตสำนึกรับผิดชอบที่ดีด้วย มองเห็นประโยชน์แก่สังคมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว สังคมจะน่าอยู่และแข็งแรงกว่านี้มาก

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

พักสมองกับเรื่องน่ารู้

ชุดคำถามที่ 1 หมวด เคล็ดลับแม่บ้าน



1.
ไข่ขาวสามารถใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวกได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง โดยใช้ไข่ขาว มาทาที่น้ำร้อนลวกให้ทั่วทิ้งไว้จนแห้ง ไปเอง แล้วรอสักพักใหญ่ๆ จึงล้างออกจะไม่มีรอยแดง หรือพองเลย ข้อสำคัญ ก่อนทาไข่ขาวอย่าให้ถูกน้ำเย็นหรือของอื่นเลย และอย่าไปแกะ หรือเกาตอนที่ใกล้จะแห้ง เพราะจะทำให้หนังถลอก

2.
ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง โดยการใช้ยาหม่องถูตรงยางเหนียวๆ ของหมากฝรั่งไปมา ไม่นานยางของหมากฝรั่งก็จะหลุดออกหมด แล้วจึงนำผ้าไปซักตามปกติ

3.
ใส่หลอดในขวดซอสมะเขือเทศจะทำให้เทออกง่าย จริงหรือ


เฉลย
จริง โดยการใส่หลอดลงไปให้ลึกถึงก้นขวด เพื่อให้อากาศสามารถแทรกผ่าน เข้าไปในขวดได้ แล้วเทซอสมะเขือเทศ ก็จะไหลออกมาง่ายขึ้น

4.
ถุงน่องแช่น้ำเกลือช่วยให้ถุงน่องไม่ขาดง่าย จริงหรือ


เฉลย
จริง โดยการนำเกลือ 2 ถ้วยผสมกับน้ำ 1 แกลอน แช่ถุงน่องใหม่ไว้นาน 3 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำเย็น ยกถุงน่องขึ้น มาตากให้น้ำหยดจนแห้ง ก็จะทำให้ถุงน่องคงสภาพ และเหนียวทนนาน

5.
มันฝรั่งกำจัดกลิ่นปลาร้าติดมือได้ จริงหรือ


เฉลย
ไม่จริง แต่มันฝรั่งสามารถกำจัดกลิ่นหัวหอมติดมือได้ โดยการนำมันฝรั่งที่ปอกแล้ว มาถูมือที่มีกลิ่นหัวหอมติดอยู่ กลิ่นหัวหอมก็จะค่อยๆ จางหายไป

6.
พริกแห้งใช้ไล่แมลงวันได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เวลาตากของแห้งไว้ จะมีแมลงวันมาตอม ให้เอาพริกแห้ง 5 - 6 เม็ด เสียบไว้รอบกระด้ง ไอร้อนของพริก จะทำให้แมลงวันไม่กล้าเข้าใกล้

7.
เบียร์ช่วยคลายเกลียวขึ้นสนิมได้


เฉลย
จริง ให้รินเบียร์ลงไปบนเกลียวขึ้นสนิมนิดหน่อย รอ 2-3 นาที ความเป็นกรดของเบียร์ จะช่วยขจัดสิ่งสกปรก และเศษสนิม ทำให้เกลียวหมุนเปิดได้ง่ายขึ้น

8.
เอาผ้าไหมแช่ช่องแข็งจะทำให้รีดง่าย จริงหรือ


เฉลย
จริง การรีดผ้าไหม ควรใช้ไฟอ่อนๆ เพราะผ้าไหมจะไหม้เกลียม หรือเป็นสีเหลืองได้ง่าย แต่ถ้าผ้าไหมยับมาก ก่อนรีดควรฉีดพรมน้ำยาให้ทั่ว แล้วพับใส่ถุงพลาสติก นำไปแช่ในช่องแข็งของตู้เย็น ประมาณ 10 -15 นาที แล้วจึงนำออกมารีด จะทำให้รีดผ้าไหมได้ง่าย และเรียบยิ่งขึ้น

9.
นำเหรียญสลึงใส่แจกันช่วยให้ดอกไม้ไม่เหี่ยวเฉาได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง โดยให้หย่อนเหรียญสลึงลงไปในแจกัน ส่วนผสมที่เป็นทองแดงในเหรียญ จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ดอกไม้เหี่ยวเฉา

10.
ใบฝรั่งช่วยดูดกลิ่นได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง โดยให้นำใบฝรั่งมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ แยกกากใบออก น้ำมันหอมระเหยที่ได้ จะทำหน้าที่ดับกลิ่น ส่วนกากใบที่ได้ให้นำไปวางไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อช่วยดูดกลิ่นได้






ชุดคำถามที่ 2 หมวดกินเพื่อสุขภาพ



1.
กินน้ำมะนาวปั่นสามารถแก้อาการเมาค้างได้ จริงหรือ


เฉลย
ไม่จริง แต่แก้อาการเมาค้างได้โดยการดื่มน้ำกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง เพราะกล้วยจะทำให้กระเพาะของเราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไป ในขณะที่นมก็ช่วยปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา ทำให้อาการเมาหายไปได้

2.
เมื่อเป็นไข้ไม่ควรกินฝรั่ง จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะในฝรั่งมีแร่โพแทสเซียมสูง เมื่อเวลาเป็นไข้ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น การกินอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงจะส่งผลให้เกิดอาการชักได้

3.
มันฝรั่งช่วยลดความดันโลหิตให้ต่ำลงได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะในมันฝรั่งมีสารเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ชื่อว่า คูคัวไมน์ส มีสรรพคุณในการควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำลง และมันยังรักษาโรคที่ลึกลับที่เรียกว่า โรคนอนหลับ ได้อีกด้วย

4.
ดื่มนมร้อนก่อนนอนจะช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้ จริงหรือ


เฉลย
ไม่จริง แต่การดื่มนมร้อนก่อนนอนจะช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น เพราะนมร้อนจะส่งเสริมให้สมองหลั่งสาร

5.
การเคี้ยวหมากฝรั่งช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้ จริงหรือ


เฉลย
ไม่จริง แต่การเคี่ยวหมากฝรั่งช่วยให้คนไข้ผ่าตัดลำไส้ใหญ่หายเร็วขึ้น เพราะการเคี้ยวหมากฝรั่งหลังการผ่าตัด เป็นการบริหารให้ลำไส้กลับมาทำงานตามปกติได้เร็วขึ้น คนไข้จะไม่เกิดอาการลำไส้อืด ซึ่งทำให้ปวดท้อง และท้องอืด หลังจากที่ต้องหยุดทำงานไปพักหนึ่ง

6.
การกินเนยก่อนนอนทำให้นอนหลับสนิทขึ้น จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะในเนยมี กรดอมิโน ที่มีชื่อว่า ทริปโตพัน ซึ่งมีสรรพคุณช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และสะกดให้หลับได้สนิทดีขึ้น

7.
กินส้มช่วยแก้อาการเซ็งได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง การรับประทานส้มโดยปอกเปลือกเองจะมีกลิ่นส้มที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และวิตามินซีที่ร่างกายได้รับในจำนวนที่เพียงพอ ช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้คลายความเครียดลงได้ดีออกมาด้วย

8.
การกินช็อคโกแล๊ตช่วยแก้ไอได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ โกโก้ที่ใช้ทำช็อคโกแล๊ตมีสารที่ชื่อว่า ธีโอโบรไมน์ จะไปออกฤทธิ์ที่เส้นประสาทชื่อ เวกัสเนอร์ฟ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการไอ ทำให้สามารถหยุดอาการไอเรื้อรังอย่างได้ผล

9.
การกินบ๊วยช่วยเพิ่มกำลังได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ การที่คนเรามีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย เพราะกรดในเลือดสูง ร่างกายไม่สามารถปรับดุลความเป็นด่างได้ทัน แต่บ๊วยมีความเป็นด่าง Ph 7.35 ใกล้เคียงกับเลือดคนเรา จึงช่วยถ่วงดุลความเป็นด่างได้ และยังมีโปรตีน เกลือแร่ และสารอาหารจำเป็นอยู่มากอีกด้วย

10.
การกินอาหารมื้อเช้าช่วยป้องกันความจำเสื่อมได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ เลือดตอนเช้าจะแข็งตัวง่ายกว่าปกติ จึงมีโอกาสที่หลอดเลือดอุดตันมากขึ้น สารอาหาร ไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง สมองจึงค่อยๆ เสื่อม






ชุดคำถามที่ 3 หมวดรู้ไว้ใช่ว่า



1.
การแลบลิ้นให้น้ำลายยืดลงพื้น 3 หยดจะแก้เผ็ดได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง อาการเผ็ดเกิดจากสารที่ชื่อ แคปไซซิน ที่อยู่ในพริกเข้าไปจับกับปลายประสาทรับรถที่ลิ้น ร่างกายจะก็จะแสดงปฎิกริยาโดบขับน้ำลายออกมาชะล้างเอาเจ้าสารนี้ออกไป

2.
ดูดนมยางของเด็กทารกตอนนอนจะแก้อาการนอนกรนได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง การคาบหรืออมนายางของเด็กทารกไว้ในปากจะทำให้ลิ้นในปากอยู่นิ่ง ก็จะพลอยให้เนื้อเยื่อของเพดานไม่กระเทือนสั่นไหวขึ้นจึงไม่เกิดอาการกรน และไม่นอนอ้าปากอีกด้วย

3.
การสูดกลิ่นตัวผู้ชายทำให้หายเครียดได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะกลิ่นตัวผู้ชายที่เป็นคนรักนั้นมีสาร ฟีโรโมน ผสมอยู่โดยเฉพาะในผมและผิวของเขา เมื่อสูดดมแล้วจะช่วยลดอาการเครียดและเหนื่อยล้าลงได้

4.
แอปเปิ้ลผลิตกระแสไฟฟ้าได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง ถ้าเสียบแผ่นสังกะสี และแผ่นทองแดง กรดในแอปเปิ้ลจะทำให้เกิดการแตกตัวของไอออน ทำให้ลูกแอปเปิ้ลเป็นเหมือนแบตเตอรี่ ซึ่งผลไม้ชนิดอื่นเช่น มะนาว เกรป ฟรุ๊ต หรือมันฝรั่ง ก็ทำได้เช่นกัน

5.
ปัสสาวะมนุษย์ใช้ทำยาสีฟันในสมัยโบราณ จริงหรือ


เฉลย
จริง โดยแพทย์ชาวโรมันเชื่อว่า ปัสสาวะมนุษย์ มีคุณสมบัติทำให้ฟันขาว และแข็งแรง ยาสีฟันในยุคดังกล่าว จึงเป็น น้ำยาบ้วนปากที่ทำจากปัสสาวะมนุษย์

6.
วัวกระทิงเกลียดสีแดง จริงหรือ


เฉลย
ไม่จริง เพราะ วัวเป็นสัตว์ตาบอดสี ไม่สามารถแยกแยะสีต่างๆ ได้ แต่การที่วัวเมื่อถูกล่อด้วยผ้าแดงเหมือนในสนามสู้วัว แล้วก็พุ่งเข้าใส่นั้น เป็นเพราะความรำคาญ และเพราะถูกยั่วยุมากกว่า

7.
เพชรแท้จะไม่ติดสีหมึก จริงหรือ


เฉลย
จริง การทดสอบดูเพชรแท้นั้น ให้ป้ายน้ำหมึกสีดำไปบนเพชร ถ้ามีความลื่นออก ไม่ติดอยู่บนเพชร แสดงว่าเป็นเพชรแท้ แต่ถ้ายังมีจุดดำตรงที่แต้มอยู่ ก็แสดงว่าเป็นเพชรเทียม

8.
การทะเลาะกันทำให้แผลหายช้า จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ ความเครียดที่เกิดขึ้น ทั้งระหว่าง และหลังจากการทะเลาะกัน จะส่งผลให้ร่างกายลดการผลิตโปรตีนเม็ดเลือด ที่มีประโยชน์ต่อการรักษาบาดแผล หรือส่วนที่สึกหรอในร่างกายให้น้อยลง ทำให้บาดแผลต่างๆ หายช้า

9.
แสงแดดอ่อนๆ ช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ แสงแดดอ่อนๆ จะช่วยลดการสร้างฮอร์โมนเมลาโตนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับ ถ้าหากเก็บตัวอยู่แต่ในที่มืดจะทำให้ฮอร์โมนตัวนี้สูงขึ้น และอาจส่งผลให้เกิดการง่วง เหงา ซึมเซา ได้

10.
การฟังเพลงช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ การฟังเพลงทำให้สมองหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนสร้างความสุขออกมา ช่วยลดความดันโลหิต และบรรเทาอาการปวดข้อลงได้






ชุดคำถามที่ 4 หมวดความสวยความงาม



1.
กินหวานมากทำให้ผิวเหี่ยว จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ เมื่อร่างกายมีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป มันจะไปเกาะติดกับเส้นใยโปรตีนที่อยู่ระหว่างเซลล์ผิว ทำให้เกิดภาวะผิวเครียดขึ้น และนำไปสู่อาการแก่ก่อนวัย ผิวหยาบกร้าน และเหี่ยวย่นในที่สุด

2.
การยืนเอาปลายนิ้วมือแตะปลายนิ้วเท้าจะทำให้ผิวหน้าดูสดใส จริงหรือ


เฉลย
จริง โดยการยืนเอาปลายนิ้วมือแตะปลายนิ้วเท้า ก้มตัวต่ำๆค้างไว้นับ 1-30 แล้วค่อยๆ ยืนขึ้นจะทำให้โลหิตบริเวณหนังศีรษะ และใบหน้าหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลกระทบให้ผิวหน้าดูสดใสขึ้น

3.
เอาน้ำแข็งถูหน้าก่อนนอนจะทำให้หายมันได้ จริงหรือ


เฉลย
ไม่จริง แต่แก้ปัญหาหน้ามันได้โดยการ ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาหน้าให้ทั่วใบหน้า ทาแล้วไม่ต้องล้างออก น้ำเมือกจะแห้งไปเองภายใน ๕ - ๑๐ นาที ทำก่อนนอน แค่นี่หน้าก็จะหาย

4.
การสวมเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อให้เหงื่อออกเยอะๆ จะทำให้ผอมเร็วจริงหรือ


เฉลย
ไม่จริง การที่เหงื่อออกเยอะคือ ภาวะที่ร่างกายโดนความร้อนแล้วระบายความร้อนออกมา ไม่ใช่การเผาผลาญไขมันออกมา เพราะฉะนั้นพอเราดื่มน้ำเข้าไป น้ำหนักก็จะเท่าเดิม

5.
คนผิวแห้งมีโอกาสเกิดริ้วรอยกว่าคนผิวมัน จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะคนผิวแห้งขาด ซีบัม หรือสารไขมัน ทำให้กลไกลการปกป้องตนเองของผิวหนังทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นคนผิวแห้งควรดูแล และทาครีมบำรุงเพื่อความชุ่มชื่นแก่ผิวพิเศษกว่าคนผิวมัน

6.
การฝึกกลั้นหายใจสามารถชะลอหน้าแก่ก่อนวัยได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง โดยการหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ จนสุดลม แล้วหายใจเข้าทางจมูกอย่างช้าๆ ให้เต็มปอด กลั้นไว้ระยะหนึ่ง แล้วจึงหายใจออกอย่างช้าๆ ทำแบบนี้วันละ 2 ครั้งๆ ละ 20 นาที จะช่วยชะลอผิวแก่ก่อนวัย และรอยคล้ำ ได้

7.
การร้องไห้ช่วยลดความอ้วนได้ จริงหรือ


เฉลย
ไม่จริง แต่การหัวเราะต่างหากที่ช่วยเผาผลาญแคลอรีให้หมดไปได้ดีกว่าอยู่เฉยๆ ได้มากถึง 20% ซึ่งหากได้หัวเราะวันละสัก 10 -15 นาที จะช่วยเผาผลาญพลังงานลงได้มากถึง 50 แคลอรี

8.
กาวตราช้างใช้รักษาส้นเท้าแตกได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ เมื่อปิดหนังที่แตกด้วยกาวตราช้าง สิ่งสกปรกจะเข้าไปในรอยแตกไม่ได้ ผิวจะไม่ ถูกรบกวน จึงมีการซ่อมแซมตนเองขึ้นมา มีการสร้างเซลล์ใหม่ และผลัดเซลล์เก่าออก กาวช้างก็จะหลุดออกไป แต่ห้ามใช้กับคนที่แพ้กาวตราช้าง

9.
การเต้นรำทำให้ผิวสวยได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ การเต้นรำเพียงวันละ 20 นาที ช่วยเผาผลาญแคลอรี กระตุ้นระบบการหายใจ และระบบหมุนเวียนโลหิต ทำให้เลือดลมเดินทั่วผิว ทำให้ผิวสวยมีสุขภาพดี

10.
การใส่กระโปรงสั้นในห้องแอร์เป็นประจำทำให้ขาใหญ่ได้ จริงหรือ


เฉลย
จริง เพราะ ช่วงขาส่วนที่อยู่นอกกระโปรงจะเกิดการสะสมไขมันเป็นพิเศษ เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศ โดยเฉพาะเมื่อผิวหนังเจอความหนาวเย็น ทำให้เกิดเซลลูไลท์ขึ้นจนทำให้ขาใหญ่ ถ้าหากจำเป็นต้องใส่กระโปรงสั้นจริงๆ ควรใส่ถุงน่องเพื่อเพิ่มความอบอุ่น

หนัง Happy Birth Day

ชื่อภาษาไทย -

จัดจำหน่ายโดย โมโนฟิล์ม

กำหนดฉายหนัง 11 ธันวาคม 2551

เรื่องย่อหนัง Happy Birth Day

ของขวัญที่สำคัญที่สุดของคุณคืออะไร สำหรับเขา คือเธอ

เรื่องราวความรักของชายหนุ่ม เต็น และหญิงสาว เภา ที่บุพเพฯ นำพาให้ทั้งสองได้พบรักกัน โดยมีหนังสือท่องเที่ยวเป็นสื่อกลาง หนังสือเล่มที่เต็มไปด้วยข้อความที่ถูกเขียนส่งต่อให้กันและกัน โดยที่ทั้งสองยังไม่เคยพบหน้ากัน จนเมื่อได้พบกันโดยบังเอิญแล้ว ความคุ้นเคยและความสนิทสนมที่เคยผ่านตัวหนังสือมาแล้ว ก่อเกิดขึ้นกลายเป็นความรัก พร้อมถ้อยคำมั่นสัญญาว่าพวกเขาจะไม่ทอดทิ้งกันตราบนิรันดร์ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

เรื่องราวความรักของชายหนุ่มและหญิงสาวที่บุพเพสันนิวาส ชักนำให้พวกเขาได้มารู้จักกันผ่านตัวหนังสือ ในหนังสือท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยข้อความที่ถูกเขียนส่งต่อให้กันและกัน โดยที่พวกเขาไม่เคยพบหน้ากัน แต่มันได้กลายเป็นสื่อกลางที่ทำให้ความรู้สึกผูกพันเกิดขึ้นในใจของทั้ง 2 คน และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คนมือบอน 2 คนมารู้จักกัน

เต็น ช่างภาพหนุ่มภาคสนามของนิตยสารท่องเที่ยวฉบับหนึ่ง เป็นผู้เต็มไปด้วยอุดมการณ์ ได้มารู้จักกับ เภา ไกด์สาวผู้เดินทางท่องเที่ยวมาแล้วทั่วประเทศ ผ่านทางตัวหนังสือที่เภา มักจะแอบเขียนข้อความฝากไว้ใต้ภาพในนิตยสารท่องเที่ยวในร้านขายหนังสือแห่งหนึ่งทุกครั้ง หลังจากกลับจากเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่า

เต็น ไม่พอใจที่เห็นคนมือบอนเขียนลงในหนังสือท่องเที่ยวเล่มนั้น เขาจึงเขียนข้อความฝากไปถึงคนมือบอนคนนั้น จนกระทั่งได้พบกับ เภา ที่ปางอุ๋ง แม่ฮ่องสอน จุดเริ่มต้นของการสานสัมพันธ์คนทั้งสอง พวกเขานัดเจอกันครั้งแล้วครั้งเล่า เดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ด้วยกัน ทั้งคู่ตกลงสัญญาว่าจะดูแลกันและกันตลอดไป

เรื่องราวระหว่างพวกเขาดูเหมือนจะไปได้ดี กระทั่งมาถึงวันครบรอบวันเกิดของเต็น เภาซึ่งเตรียมหาของขวัญมาให้ แต่มีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ของขวัญชิ้นนั้นไม่ถึงมือเขา แต่คำสัญญาที่ทั้งคู่เคยให้ไว้ต่อกันเป็นดั่งคำมั่นที่ เต็นยังคงเก็บไว้และรอคอยว่าสักวันหนึ่งพวกเขาจะได้อยู่ร่วมกันตลอดไป

สิทธิการตาย

สิทธิการตายดีและการฆ่าตัวตาย

ตัดทอนจากหนังสือ สุขสุดท้ายที่ปลายทาง
มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2549
กรรณจริยา สุขรุ่ง

ปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยยืดและต่ออายุการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่ล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยในวาระสุดท้ายบางรายมีชีวิตอยู่ด้วยความช่วยเหลือของเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยยืดอายุการทำงานของร่างกายออกไป ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยหายใจ เครื่องปั๊มหัวใจ สายระโยงระยางที่ห้อยแขวนทั่วร่างเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงร่างกายที่ใกล้หมดสภาพ ทั้งหมดทั้งปวงเป็นไปเพื่อยืดวันเวลาในการตายออกไป

คนจำนวนหนึ่งเห็นว่า ภาวะที่ผู้ป่วยมีชีวิตในสภาพ “ฟื้นก็ไม่ได้ ตายก็ไม่ลง” อยู่ด้วยเครื่องจักรนั้น เป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะดำรงตนอยู่อย่างมีคุณภาพ และไม่ปรารถนาที่จะเห็นตัวเองตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น

การเลือกที่จะไม่อยู่หรือตายในสภาพไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นที่กล่าวมา ทำให้เกิดประเด็นการพูดคุยเรื่อง สิทธิในการตาย อย่างกว้างขวาง ซึ่งมีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และผู้ที่คัดค้าน

เมื่อกล่าวถึง สิทธิที่จะตาย หลายคนอาจเข้าใจว่า เป็นการให้สิทธิที่จะยุติการรักษาพยาบาล หรือให้แพทย์กระทำการใด ๆ เพื่อเร่งการตาย ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการส่งเสริมการฆ่าตัวตาย เป็นการฆ่า ซึ่งเป็นเรื่องผิดบาป









ในเมืองไทย การเร่งการตายด้วยเทคโนโลยี (Active Euthanasia –การุณฆาต) เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้ ทั้งในแง่ของกฎหมาย จริยธรรมทางวิชาชีพทางการแพทย์ รวมถึงในมุมมองทางศาสนาด้วย

พระไพศาล วิสาโล กล่าวว่า ในสังคมที่ไม่มอง ความเจ็บปวด ทุพลภาพ หรือความตาย เป็นศัตรู จะยอมรับ โอบกอดความตายด้วยปัญญา เห็นเป็นการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ไม่พยายามผลักไส หรือหนีไปด้วยการเร่งความตาย หรือแม้แต่ยื้อออกไปเพราะยอมรับความตายไม่ได้

ผู้ที่ฆ่าตัวตายไม่ใช่ผู้ที่ยอมรับความตาย แต่ใช้ความตายยุติปัญหาบางอย่าง และผู้ที่ฆ่าตัวตายมักกระทำการในเวลาที่จิตใจเป็นอกุศล คือ เศร้าหมอง หดหู่ น้อยเนื้อต่ำใจ โกรธ เคียดแค้น หรือหลงผิด การตายที่จมอยู่ในความทุกข์เช่นนี้ย่อมไม่ใช่การตายที่ดีงาม และอาจสืบเนื่องไปสู่สภาวะหลังการตายด้วย

สิทธิในการตาย (ดี)
เมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะไร้การเยียวยา สภาพร่างกายเสื่อมจนฟื้นคืนไม่ได้อีกแล้ว สิทธิการตาย น่าจะอยู่ที่การปล่อยให้ขั้นตอนการตายเป็นไปตามธรรมชาติ ปราศจากการแทรกแซง ฉุดยื้อด้วย ยา และเครื่องมือทางการแพทย์ (Passive Euthanasia) และก็ไม่ได้หมายความว่า แพทย์จะยุติการรักษา เพียงแต่การรักษาในระยะนี้เป็นไปเพื่อเยียวยาอาการ บรรเทาความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน แต่จะไม่ทำอะไรรุกเร้า เร่งหรือยื้อความตายอีกต่อไป ถ้าหากจะยืดการตายออกไปก็เป็นไปเพื่อสร้างความพร้อมทางจิตวิญญาณให้กับผู้ที่กำลังจะจากไป

หนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้า (พินัยกรรมชีวิต)
การตายอย่างสงบ เป็นธรรมชาติและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีและพึงได้รับการเคารพ ยอมรับจากผู้อื่น สังคม และกฎหมาย แต่ปัญหาที่ทำให้หลายคนไม่สามารถตายอย่างมีศักดิ์ศรีได้ เกิดขึ้นเนื่องจากไม่ได้แสดงเจตจำนงในการใช้สิทธินี้ไว้ล่วงหน้า หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันขึ้นที่เราไม่อยู่ในสภาพที่จะบอกกล่าวความต้องการที่จะตายดีได้ ก็จะมีผู้อื่น ญาติ แพทย์ มาตัดสินแทนเรา ซึ่งก็เข้าใจได้ว่า ญาติอาจจะไม่รู้ความจริงว่า ผู้ป่วยอยู่ในภาวะใกล้ตายแล้ว หรือยังหวังที่จะให้คนที่ตนรักหายและกลับบ้านได้ยังมีอยู่ตลอดเวลา หรือแม้รู้แต่ก็คิดว่าต้องรักษาพยาบาลให้เต็มที่เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณให้กับคนที่ตนรัก ยิ่งในครอบครัวที่มีญาติพี่น้องมาก ยิ่งยากแก่การตัดสินใจ

ปัจจุบันเราจึงเริ่มพูดถึงแนวคิด เรื่อง พินัยกรรมชีวิต (Living will) คือให้มีการแสดงความจำนงไว้ล่วงหน้าได้ อาจจะระบุแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ที่เราต้องการ หรือไม่ต้องการในกรณีต่างๆไว้

ในหลายประเทศมีกฎหมายรับรองในเรื่องนี้ และล่าสุด ประเทศไทยก็มีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งระบุถึงสิทธิในการจากไปอย่างสงบตามธรรมชาติไว้ด้วย

“บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

เจตนารมณ์ของกฎหมายนี้เป็นไปเพื่อรับรองสิทธิของผู้ที่ปรารถนาจะจากไปอย่างสงบ ตามความเชื่อของตน และคาดว่าจะช่วยลดทอนปัญหาความขัดแย้งระหว่างญาติพี่น้อง และ ทีมผู้ให้การรักษา ซึ่งหลายครั้งจะพบว่ามีปัญหาระหว่างแนวคิดที่จะยื้อชีวิตและความเห็นที่ต้องการปล่อยการตายให้เป็นไปตามธรรมชาติ

ทั้งนี้ แม้ผู้ที่ปรารถนาจะจากไปอย่างสงบจะได้แจ้งความประสงค์ไว้ หากถึงเวลาที่ตัวเขาไม่สามารถบอกกล่าว ชี้แจงความต้องการได้ ก็คงขึ้นอยู่กับญาติ และผู้ให้การรักษาว่าจะเคารพในความปรารถนาของผู้ที่กำลังจะจากไปหรือไม่

การร้องขอ “การตายดี” จะเป็นไปได้ ก็เมื่อเราได้สื่อสารเรื่องความตายกันอย่างเนือง ๆ ได้รับรู้ความคิด ความเห็น และ ความเชื่อของกันและกัน และท้ายที่สุด ถ้าเราเคารพในความต้องการของผู้ที่เรารัก และไม่เห็นความตายเป็นศัตรูที่ต้องเอาชนะ

คำถามชวนคิด
- สำหรับท่าน การตายดีมีลักษณะอย่างไร
- ท่านปรารถนาจะตายอย่างไร ที่ไหน ในบรรยากาศเช่นไร
- ท่านอยากมีสภาพจิตอย่างไรในเวลาก่อนจากไป
- มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะเอื้อให้เกิดความตายที่พึงปรารถนาเช่นนั้น และ จะมีอะไรเป็นอุปสรรคบ้าง
- ท่านคิดว่าจะทำอะไรได้บ้างในเวลานี้ที่จะสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการตายที่ดีของท่านเอง

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บรรพ ๑
หลักทั่วไป มาตรา ๑ - ๑๙๓/๓๕
บรรพ ๒ หนี้ มาตรา ๑๙๔ - ๔๕๒
บรรพ ๓ เอกเทศสัญญา มาตรา ๔๕๓ - ๑๒๙๗
บรรพ ๔ ทรัพย์สิน มาตรา ๑๒๙๘ - ๑๔๓๔
บรรพ ๕ ครอบครัว มาตรา ๑๔๓๕ - ๑๕๙๘/๔๑
บรรพ ๖ มรดก มาตรา ๑๕๙๙ - ๑๗๕๕

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คำแปร

แปลภาษา ไทย-อังกฤษ


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

|ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-|sf.


คำแปล
the civil and commercial code




ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

|ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-|sf.


คำแปล
the Civil and Commercial Code



ดูคำที่ใกล้เคียงแพ่ง
คดีแพ่ง
ประมวญ
ประมวล
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลรัษฎากร
ประมวลการสอน







แปลภาษา ไทย-อังกฤษ NECTEC's Lexitron Dictionary




ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำแปล

[n.] Civil and Commercial Code

ตัวอย่างประโยค

สัญญาประเภทนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์






หรือท่านกำลัง หาคำว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในหัวข้อต่อไปนี้...
แปลภาษาไทย-อังกฤษ อ. สอ เสถบุตร

หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัว โดย ฑิต ปณฺฑอิต


โครงสร้างกฎหมายลักษณะครอบครัวที่สำคัญ:ซึ่งสัมพันธ์กับกฎหมายลักษณะ มรดกกลุ่มที่ 1 เงื่อนไขแห่งการหมั้นมาตรา 1435,1437,1439,1440,1447กลุ่มที่ 2 เงื่อนไขแห่งการสมรสมาตรา 1448,1449,1450,1451,1452,1457,1458กลุ่มที่ 3 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยามาตรา 1465,1469,1470,1471,1472,1473,1474,1481กลุ่มที่ 4 ความเป็นโมฆะของการสมรสมาตรา 1494,1495,1496,1497,1498,1499กลุ่มที่ 5 การสิ้นสุดแห่งการสมรสมาตรา 1501,1502,1503,1504,1507-1509,1514,1516,1518,1531,1532,1533กลุ่มที่ 6 บิดามารดากับบุตรมาตรา 1536-1539,1541-1544,1546,1547,1555,1556,1557,1558,1560 กลุ่มที่ 7 บุตรบุญธรรมมาตรา 1598/26,1598/27-1598/30,1598/32หมายเหตุ ปกติ ข้อสอบข้อ 8 มีประเด็นที่มากมาย สามารถออกสอบได้ทุกเรื่องเพราะโยงทั้งครอบครัวและมรดก เข้าด้วยกันกลุ่มที่ 1 เงื่อนไขแห่งการหมั้นให้ดูมาตราที่สำคัญคือ 1435,1437,1439,1440,1447การหมั้น หมายถึงการที่ชายและหญิงทำสัญญาว่าจะสมรสอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา กม.มิได้บังคับว่าต้องมีการหมั้นก่อนการสมรส ชายหญิงจะสมรสทันทีโดยไม่ต้องหมั้นก่อนก็ได้( การหมั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่ายหญิงโดยชอบด้วยกม.เพื่อชายและหญิงจะทำการสมรสกัน ฎ.763/26)การหมั้น เงื่อนไขของการหมั้น มี 2 ประการ คือ (1) อายุของคู่หมั้น มาตรา 1435 การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์แล้วการหมั้นที่ฝ่าฝืนวรรคหนึ่ง เป็นโมฆะ ข้อสังเกตแม้ชายหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ให้สัตยาบันไม่ได้ ขัดต่อมาตรา172 ชายหญิงอายุต่ำกว่า 17 ปี บริบูรณ์ จะขออนุญาตศาลทำการหมั้นไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจ เหมือนการขออนุญาตทำการสมรสตามมาตรา 1448 การหมั้นที่เป็นโมฆะ ถือเสมือนว่าเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น หากมีการให้ของหมั้นหรือสินสอด ฝ่ายชายเรียกคืนได้ในฐานะลาภมิควรได้(หลัก ต้องไม่รู้ว่าอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์) เว้นแต่ ชายทราบว่าหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ และสมรสกันโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของหมั้นและสินสอด ฝ่ายชายเรียกคืนไม่ได้ ( ฎีกาที่ 1117/2535,3072/2547 )(2) ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง มาตรา 1436 ผู้เยาว์จะทำการหมั้น ต้องได้รับความยินยอม ของบุคคลดังต่อไปนี้ (1) บิดาและมารดา กรณีผู้เยาว์มีทั้งบิดามารดา (2) บิดาหรือมารดา กรณีอีกฝ่ายหนึ่งตาย , ถูกถอนอำนาจปกครอง , ไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่ให้ความยินยอมได้ ( มาตรา 1566 วรรค 2 ) หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากบิดาหรือมารดาได้ (ไปจากถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร , ไปต่างประเทศ )(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม(4) ผู้ปกครอง(บิดามารดาตายหมดแล้วหรือถูกถอนอำนาจปกครอง )ข้อสังเกตผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว หมั้นได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมตามมาตรา 1436 การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าว เป็นโมฆียะมาตรา 1436 วรรคสอง ผู้เยาว์บอกล้างได้ตามมาตรา 175 (1) หรือให้สัตยาบันตามมาตรา 177 (เช่นชายอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หญิงอายุ 18 ปี หมั้นกัน โดยหญิงไม่ได้รับความยินยอมตามมาตรา 1436 ผลเป็นโมฆียะ)บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง ให้สัตยาบันได้ตามมาตรา 177 แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของการให้ความยินยอมให้ทำการหมั้น กล่าวคือ ถ้าเป็นกรณีที่จะต้องได้รับความยินยอมให้ทำการหมั้นจากทั้งบิดาและมารดา การให้สัตยาบันก็ต้องให้ทั้งบิดาและมารดา แต่สำหรับการบอกล้างการหมั้น บิดาหรือมารดา แต่เพียงฝ่ายเดียว สามารถบอกล้างได้มาตรา 175 (1) ผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรสมาตรา 20 โดยสมรสก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ด้วยการขออนุญาตศาลตามมาตรา 1448 หากต่อมาได้หย่าขาดจากกันและอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ยังต้องอยู่ในเงื่อนไขเรื่องอายุอยู่เช่นเดิม ในกรณีผู้ให้ความยินยอม ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล ผู้เยาว์อาจขอให้ศาลถอนอำนาจปกครองในส่วนนี้ หรือถอนอำนาจปกครองเสีย แล้วตั้งผู้ปกครองใหม่ตามมาตรา 1582 , 1598/8 การให้ความยินยอมทำได้ด้วยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษร ของหมั้นและแบบของสัญญาหมั้น มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือ โอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับ หญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง สินสอด เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตร บุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่ หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแต่หญิงหรือ โดยพฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือ ไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ให้นำทบัญญัติมาตรา 412 ถึงมาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลมข้อสังเกต ของหมั้นฝ่ายชายต้องส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงแล้ว สัญญาจะส่งมอบให้ในภายหลัง ไม่ถือเป็นการให้ของหมั้น ฝ่ายหญิงเรียกเอาไม่ได้ ในกรณีของหมั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีการจดทะเบียนโอนตามกฎหมาย ของหมั้นนั้นต้องมีการส่งมอบของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิงอย่างแท้จริง มิใช่เป็นเพียงสัญญาว่าจะให้เท่านั้น หรือเพียงแต่ทำสัญญากู้ไว้เท่านั้น(ฎ.1778.2493,1852/2506 ออกสอบเนติฯสมัยที่ 48)ดูฎีกาที่ 4905/2543 ให้ของหมั้น แต่ไม่มีพิธีหมั้น การหมั้นสมบูรณ์แล้ว ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง โดยมิได้มีเจตนาจะทำการจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของหมั้น ฝ่ายชายเรียกคืนไม่ได้ ( ฎ.3557/2524 ,592/2540) สรุป การหมั้นจะต้องมีการส่งมอบของหมั้นกัน การหมั้นจึงจะสมบูรณ์ การทำสัญญากู้จึงเป็นเพียงจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นในวันข้างหน้า ต่างกับสินสอดซึ่งไม่จำต้องส่งมอบในขณะทำสัญญาหมั้น ดังนั้น จึงสามารถทำสัญญากู้ไว้แทนสินสอดได้(ฎ.878/2518)สาระสำคัญของของหมั้น 4 ประการ(1) ต้องเป็นทรัพย์สิน(รวมทรัพย์สินทางปัญญา) หมั้นด้วยเช็ค ต่อมาเช็คเด้ง ถือว่าไม่มีของหมั้นแต่อย่างใด (2) ต้องเป็นของฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง ทรัพย์สินที่หญิงให้แก่ฝ่ายชายมิใช่ของหมั้น (3) ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญา และหญิงต้องได้รับไว้แล้ว(ดูฎ.525/2509)(4) ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิง และต้องให้ไว้ก่อนสมรส (ดูฎีกาที่ 4905/2543) ถ้าให้ไว้เมื่อหลังสมรสแล้ว ทรัพย์สินนั้นมิใช่ของหมั้น แนวฎีกา ฎ.525/2509 การหมั้นจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิงอันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณี เมื่อมีการหมั้นแล้วถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน โดยที่กม.บัญญัติไว้เป็นพิเศษเช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้นจึงอยู่นอกขอบเขตที่กม.รับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่ ทำพิธีผูกข้อมือเฉยๆ ไม่ใช่การหมั้นแต่อย่างใด เมื่อไม่ยอมสมรส จึงเรียกค่าทดแทนไม่ได้ (ฎ.592/2540) ข้อสังเกต กรณีชายไปเอาของบุคคลอื่นมาเป็นของหมั้น โดยคนอื่นไม่ได้ยินยอม คนอื่นสามารถติดตามเอาทรัพย์นั้นคืนได้ตามมาตรา 1336กรณีหญิงไม่ยอมหมั้น แต่บิดามารดารับของหมั้นฝ่ายชายไว้ ถือว่าบิดามารดาเป็นคู่สัญญาหมั้น ถ้าผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายเรียกค่าทดแทนจากบิดามารดาหญิงได้ กรณีผิดสัญญาหมั้น คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้นมี 3 จำพวก คือ(1) ชายหรือหญิงคู่หมั้น ในกรณีชายหญิงหมั้นกันเพียงลำพัง โดยมิได้มีบุคคลอื่นเป็นคู่สัญญา (2) บิดามารดาชายหญิง ในกรณีชายหญิงให้ความยินยอม คู่สัญญาหมั้นได้แก่ บิดามารดา รวมทั้งชายหญิงที่ให้ความยินยอม หากชายให้ความยินยอมฝ่ายเดียว ส่วนหญิงไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย หญิงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น(3) บุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดา สินสอด มาตรา 1437 วรรคสาม สินสอด เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแต่หญิงหรือโดยพฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ ลักษณะของสินสอด มี 3 ประการ คือ (1) ต้องเป็นทรัพย์สิน ตัวทรัพย์สินที่เป็นสินสอดไม่จำต้องมอบให้ขณะทำสัญญา จะตกลงให้นำมามอบในภายหลังก็ได้ (2) ต้องเป็นของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง(หญิงไม่มีสิทธิรับสินสอดแต่อย่างใด)(3) เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส (มิใช่ให้โดยเสน่หา)ข้อสังเกตสินสอดไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้นหรือการสมรส ชายหญิงจะทำการหมั้นหรือสมรส โดยไม่จำต้องมีสินสอดก็ได้ แต่หากมีการตกลงจะให้สินสอดแล้วฝ่ายชายไม่ยอมให้ บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงสามารถฟ้องเรียกเอาได้ สินสอดให้แล้วเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดามารดาหรือผู้ปกครองของหญิง สินสอดที่ฝ่ายชายมอบแก่บิดามรดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง ฝ่ายชายมีสิทธิเรียกเอาสินสอดคืนได้ใน 2 กรณี คือ (1) ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแต่หญิง เช่น หญิงไปร่วมประเวณีกับชายอื่น , หญิงเป็นโรคเอดส์ , ถูกจำคุก (2) ถ้าไม่มีการสมรสโดยพฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ เช่น บิดามารดาหญิงผู้เยาว์คู่หมั้น ไม่ให้ความยินยอมให้หญิงผู้เยาว์ทำการสมรส ข้อสังเกต หากชายหญิงไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้ ( ฎ.664/2497 , 878/2518 ) ชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรส ชายจะเรียกคืนของหมั้นและสินสอดไม่ได้(ฎ.3868/2531) เงินสินสอด 240,000 บาท บิดามารดาโจทก์ยกให้โจทก์และจำเลยมาทำทุนโดยนำไปฝากธนาคารไว้ในนามโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของบัญชีด้วยกัน เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยที่ต้องแบ่งกันคนละส่วนเท่าๆกัน(ฎ.5777/2540)หากชายหรือหญิง ตายก่อนสมรส ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้มาตรา 1441 อายุความเรียกสินสอดกม.มิได้กำหนดไว้ จึงใช้อายุความทั่วไป 10 ปีวิธีคืนของหมั้นหรือสินสอดมาตรา 1437 วรรคท้าย ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412-418 ว่าด้วยลาภมิควรได้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม (1) ถ้าของหมั้นหรือสินสอดเป็นเงิน ฝ่ายหญิงมีหน้าที่คืนเพียงส่วนที่เหลืออยู่ในขณะเรียกคืนมาตรา 412 หากหญิงนำของหมั้นหรือสินสอดที่เป็นเงินไปซื้อทรัพย์สินอื่น ทรัพย์สินอื่นเป็นช่วงทรัพย์ตาม มาตรา 226 ที่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย แต่หากนำไปลงทุนหรือได้ดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยนั้นไม่ต้องคืน (2) ถ้าของหมั้นเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงิน ฝ่ายหญิงมีหน้าที่คืนในสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาเรียกคืน โดยไม่ต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลาย แม้ว่าเหตุดังกล่าวจะเกิดเพราะความผิดของฝ่ายหญิงก็ตาม การผิดสัญญาหมั้นและค่าทดแทน มาตรา 1438 การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้ ทำการสมรสได้ ถ้ามีข้อตกลงจะให้เบี้ยปรับเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ อธิบาย การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสกัน เนื่องจากการสมรสต้องอาศัยความสมัครใจและความยินยอมของชายและหญิง ถ้าไม่ได้การกำหนดระยะเวลาในการสมรสกันไว้ ก็ให้สมรสในเวลาอันควร ผิดสัญญาหมั้นเรียกค่าทดแทนได้ตามมาตรา 1439,1440มาตรา 1439 เมื่อหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายมีสิทธิ เรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทนได้ ถ้าฝ่ายหญิงเป็นผู้ผิดสัญญา ให้คืนของหมั้น แก่ฝ่ายชายด้วย อธิบาย ผิดสัญญาหมั้นหมายถึงการที่คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่สมรสกับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กรณีชายบอกหญิงว่าจะสมรสในวันที่ 14 ก.พ.52 ต่อมาชายกลับไปแต่งกับหญิงอีกคนหนึ่งในวันที่ 14 ก.พ.51 ถือว่าชายผิดสัญญาหมั้นหมั้นกันแล้ว หญิงอยู่กินกับชาย แต่ไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส กรณีเช่นนี้ถือว่าหญิงผิดสัญญาหมั้นข้อสังเกต ในเบื้องต้นต้องเข้าใจว่าค่าทดแทนจะเรียกกันได้ต่อเมื่อมีการหมั้น(โดยต้องส่งมอบของหมั้นแล้ว) เพราะมาตรา 1439 บัญญัติว่า เมื่อหมั้นแล้ว(ให้ดูฎีกาที่ 45/32,1092/39,5777/2540,83/2542 ประเด็นนี้ออกสอบเนติฯสมัยที่ 57 โยงมาตรา 1440,1437 วรรคสอง) ฎ.5777/2540 โจทก์รบเร้าให้จำเลยพาโจทก์ไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้ง แต่จำเลยขอเลื่อนไปก่อน ครั้งสุดท้ายที่โจทก์รบเร้าให้จำเลยไปจดทะเบียนสมรส จำเลยไม่พอใจแสดงอาการโมโหและขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน โจทก์จึงต้องกลับมาที่บ้านบิดามารดาโจทก์ เช่นนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายครอบครองของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ตั้งแต่หมั้นกันแล้ว จึงต้องคืนของหมั้นทั้งหมดแก่โจทก์ค่าทดแทน มี 3 กรณีตามมาตรา 1440 (1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงมาตรา 1440 (1) (2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากคู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคลในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่าย หรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องจากการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควรมาตรา 1440 (2) ข้อสังเกตค่าทดแทนที่เรียกได้ ค่าใช้จ่ายปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเป็นเรือนหอ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อทำการสมรส ค่าใช้จ่ายในการซื้อที่นอน หมอน มุ้ง สำหรับเรือนหอ ค่าชุดแต่งงาน 4 ชุดจำนวน 28,000 บาท (ฎ.2165/2538)ค่าทดแทนที่เรียกไม่ได้ ค่าหมากพลูและขนมในขันหมากหมั้น ค่าเลี้ยงดูในวันหมั้นและวันแต่งงาน (ฎ. 90/2512) (เพราะการสมรสตามกม.เพียงแต่จดทะเบียนสมรสเท่านั้นก็สมบูรณ์แล้ว) ค่าเสื้อผ้า(ชุดแต่งงานของหญิง) เป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส เรียกค่าทดแทนได้ค่าผ้ารับไหว้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายตามประเพณี (ฎ.2165/2538) (3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการคู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะมีการสมรสมาตรา 1440 (3) เช่น ลาออกจากที่ทำงานเดิมเพื่อมาทำงานที่บ้านซึ่งเป็นร้านขายหนังสือ (ฎ.3366/2525)การระงับสิ้นไปแห่งสัญญาหมั้น และค่าทดแทน (1) คู่สัญญาตกลงเลิกสัญญา (2) ชายหรือหญิงถึงแก่ความตายมาตรา 1441 (3) ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญา ชายบอกเลิกสัญญาโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแต่หญิงมาตรา 1442 หญิงบอกเลิกสัญญาโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแต่ชายมาตรา 1443 ค่าทดแทนในการเลิกสัญญาหมั้น (1) ค่าทดแทนเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงมาตรา 1444 - ต้องเกิดภายหลังการหมั้นเท่านั้น (2) ค่าทดแทนจากชายอื่นที่ล่วงเกินหญิงคู่หมั้นทางประเวณี ข้อสังเกตหญิงยินยอมและชายอื่นนั้นรู้หรือควรรู้ว่าหญิงนั้นหมั้นกับชายคู่หมั้น และชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 แล้วตามมาตรา 1445 กรณีนี้ชายคู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงคู่หมั้นโดยถือว่ากระทำชั่วอย่างร้ายแรงภายหลังการหมั้นตามมาตรา 1444 ได้ด้วย แต่หากเพียงแต่ให้ชายอื่นกอดจูบลูบคลำในทางชู้สาว ไม่ถึงกับร่วมประเวณี ชายคู่หมั้นเรียกค่าทดแทนได้เฉพาะจากหญิงคู่หมั้นโดยถือว่ากระทำชั่วอย่างร้ายแรงตามมาตรา 1444 เท่านั้น แต่เรียกจากชายอื่นไม่ได้ ชายอื่นข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้น โดยรู้หรือควรรู้ว่าหญิงนั้นได้หมั้นแล้ว โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นมาตรา 1446 กลุ่มที่ 2 เงื่อนไขแห่งการสมรสให้ดูมาตราที่สำคัญ 1448,1449,1450,1451,1452,1457,1458การสมรส การสมรสหมายถึง การที่ชายหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินฉันสามีภริยากันชั่วชีวิต การสมรสประกอบด้วยเกณฑ์สำคัญ 4 ประการคือ(1) คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายและอีกฝ่ายจะต้องเป็นหญิงฎ.157/24 วินิจฉัยว่า เพศของบุคคลถือเอาเพศตามเพศที่กำเนิด ชายที่แปลงเพศเป็นหญิง ไม่สามารถออกลูกได้ ตามกฎหมายยังถือว่าเป็นเพศชาย(2) การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยความสมัครใจของชายและหญิง หากชายหญิงไม่ยินยอมสมรส การสมรสย่อมเป็นโมฆะ(3) การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาจะต้องเป็นระยะเวลาชั่วชีวิต(4) การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว (หลัก สมรสสองต้องห้าม) เงื่อนไขของการสมรส มี 8 ประการ คือ (1) การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ข้อสังเกต การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1448 เป็นโมฆียะตามมาตรา 1503 ผู้มีส่วนได้เสียบอกล้างได้ตาม แต่บิดามารดาที่ให้ความยินยอมแล้ว บอกล้างไม่ได้มาตรา1504 วรรคหนึ่ง หากไม่มีการบอกล้าง จนกระทั่งชายหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ หรือหญิงมีครรภ์ ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาแต่ต้นมาตรา 1504 วรรคสอง กรณีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์ คนที่อายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์ จะเป็นผู้ที่ยื่นขออนุญาตจากศาล(2) ชายและหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ มาตรา 1449 การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็น บุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ข้อสังเกตการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1496 วิกลจริต หมายถึง ไม่ใช่บ้าอย่างเดียว มีความหมายมากกว่านั้น มิใช่ความหมายทางการแพทย์ แต่เป็นความหมายทางสังคมและกฎหมายเช่น ครูคนหนึ่งถูกทำร้ายและป่วยนอนอยู่บนเตียงไม่ได้สติอะไรเลย เป็นต้น (3) ญาติสนิทสมรสกันไม่ได้ มาตรา 1450 ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป หรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการสรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ข้อสังเกตญาติสนิทดังกล่าว ได้แก่ (1) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปคือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด(2) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมาคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อความเป็นญาติให้ถือตามสายโลหิต ไม่ว่าจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1450 เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1496 (4) ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ มาตรา 1451 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกัน ไม่ได้ ข้อสังเกตการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1451 ไม่เป็นโมฆียะหรือโมฆะนั่นคือการสมรสดังกล่าวสมบูรณ์ แต่ มาตรา 1598/32 บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิก เมื่อมีการฝ่าฝืนมาตรา 1451 (5) ชายหญิงต้องไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ (หลัก สมรสสองต้องห้าม-สมรสซ้อนไม่ได้) มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรส อยู่ไม่ได้ ข้อสังเกตการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะก็ได้ตามมาตรา1497 จดทะเบียนสมรสครั้งเดียวอาจเป็นสมรสซ้อนได้เช่น ชายไปแต่งงานที่อเมริกา ต่อมากลับมาไทยและจดทะเบียนกับหญิงอีกคนหนึ่ง การดังกล่าวเป็นการสมรสซ้อน (ต้องระวังในจุดนี้) หรือชายกับน้องสาวสมรสกัน แม้จะเป็นโมฆะ แต่ผู้มีส่วนได้เสียยังไม่ได้ขอให้ศาลสั่งให้การสมรสเป็นโมฆะ ต่อมาชายไปจดทะเบียนสมรสกับหญิงอีกคนหนึ่ง การสมรสครั้งหลัง ก็เป็นสมรสซ้อน (6) ชายหญิงต้องยินยอมเป็นสามีภรรยากัน มาตรา 1458 การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฎโดยเปิดเผยต่อหน้า นายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย ข้อสังเกตการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1458 เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1496 (7) หญิงหม้ายจะทำการสมรสใหม่ได้ ต่อเมื่อการขาดจากการสมรสเดิมได้ล่วงพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน มาตรา 1453 หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่าน พ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ (1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น(2) สมรสกับคู่สมรสเดิม(3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ(4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้ข้อสังเกตการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1453 ไม่เป็นโมฆียะหรือโมฆะ หากมีบุตรเกิดมาในระหว่าง 310 วัน ให้ถือว่าบุตรดังกล่าวเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามีคนใหม่มาตรา1537 (8) ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง มาตรา 1454 ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อสังเกตเมื่อให้ความยินยอมแล้ว ถอนไม่ได้เพราะเมื่อให้ความยินยอมแล้ว นายทะเบียนจดทะเบียนสมรส ชายหญิงเกิดฐานะของการเป็นคู่สมรสและอาจเกิดบุตรได้ ดังนั้น ถ้าให้ถอนได้จะกระทบต่อคู่สมรสและบุตร การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1454 เป็นโมฆียะตามมาตรา 1509 แต่เฉพาะบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองผู้มีสิทธิให้ความยินยอมเท่านั้น มีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรสตามมาตรา 1503 ได้ ชายหรือหญิงคู่สมรส ไม่มีสิทธิขอเพิกถอนมาตรา 1510 วรรคหนึ่งสิทธิขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรา 1454 เป็นอันระงับเพื่อชายหญิงมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือเมื่อหญิงมีครรภ์มาตรา 1510 วรรคสอง อายุความเพิกถอนการสมรสตามมาตรา 1454 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันทราบการสมรสมาตรา 1510 วรรคท้าย แบบของการสมรส (ออกสอบเนติฯสมัยที่ 49)มาตรา 1457 การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะ เมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น ข้อสังเกตเมื่อจดทะเบียนสมรส ชายหญิงย่อมเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเลิกร้างกันไป 20-30 ปี ทรัพย์สมบัติแบ่งแยกกันไปเป็นสัดส่วน แต่ตราบใดที่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า หญิงยังเป็นภริยาชายโดยชอบด้วยกม.แม้ใบทะเบียนการสมรสมิได้ประทับตรานายทะเบียนก็หาทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะเพราะ พรบ.การจดทะเบียนฯ กำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มิได้ว่าต้องประทับตราแต่อย่างใด(ฎ.2616/2543)
#2
21 February 2009, 02:41

คนตัวเล็ก
สัตว์เลี้ยง Slowpoke

เป็นสมาชิกเมื่อ: Feb 2009
ตอบ: 1,080

กลุ่มที่ 3 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา(ต้องเน้นในการอ่านให้มากๆโดยเฉพาะสินส่วนตัว/สินสมรส)มาตราที่สำคัญคือ 1465,1469,1470,1471,1472,1473,1474,1481ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา (1) ในทางส่วนตัว (2) ในทางทรัพย์สิน (1) ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางส่วนตัว ( ก ) สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาสามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามสามารถและ ฐานะของตน ฎ.4987/2537 สามีภริยามีหน้าที่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันและกันตามความสามารถและฐานะของตน หาใช่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจะหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ซึ่งเป็นภริยาแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 1 มีความสามารถและฐานะดีกว่าโจทก์เพียงใดและโจทก์มีรายจ่ายเกินรายได้ของตนเพียงใด แต่กลับได้ความว่าเงินเดือนที่โจทก์ได้รับพอใช้จ่ายเช่นนี้ โจทก์จึงไม่สมควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1( ข ) สามีภริยาแยกกันอยู่เป็นการชั่วคราวมาตรา 1462 1) สามีภริยาทำข้อตกลงแยกกันอยู่ต่างหาก ผลของข้อตกลงนี้ แม้จะเกิน 1 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไป จะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516(4) ไม่ได้ แต่ถ้าหากการแยกกันอยู่นี้เป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข และแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปี สามารถฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516(4)(4/2) ฎ.5627/2530 ค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างสามีภริยาแยกกันอยู่ ฝ่ายที่มีความสามารถหรือฐานะด้อยกว่าและแยกกันอยู่โดยสุจริตชอบที่จะได้รับความช่วยเหลือและอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ชั่วคราวโดยมิใช่ความผิดของจำเลยและจำเลยไม่มีอาชีพหรือรายได้เพียงพอ โจทก์ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูจำเลยมาตลอดและอยู่ในฐานะที่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูจำเลยได้ จึงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลย 2) ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ชั่วคราวมาตรา 1462 มี 3 กรณี คือ (1) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายอย่างมาก เช่น เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง (2) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่จิตใจอย่างมาก เช่น จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือ สามีเป็นเกย์ (3) การอยู่ร่วมกันจะทำลายความผาสุกอย่างมาก ผลของข้อตกลงนี้ แม้จะเกิน 1 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไป จะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516(4) ไม่ได้ แต่ถ้าหากการแยกกันอยู่นี้เป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข และแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปี สามารถฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516(4)(4/2) ( ค ) การเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ให้คู่สมรสมาตรา 1463 กฏหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ เว้นแต่มีเหตุสำคัญศาลจะตั้งบุคคลอื่น เช่น บิดามารดา เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ฎ.5827/2530 จำเลยเป็นบุตรย่อมมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้มารดาเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นคนไร้ความสามารถได้ตามมาตรา 32 หรือมาตรา 28 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นบิดาจำเลยและเป็นสามีของมารดาจำเลย ทั้งศาลมีอำนาจแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลมารดาได้ตามมาตรา 1463 แม้ตามปกติคู่สมรสจะเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลตามกฎหมายก็ตาม (2) ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน1) สัญญาก่อนสมรส มาตรา 1465 ถ้าสามีภริยามิได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ถ้าข้อความใดในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สินนั้น ข้อความนั้นๆเป็นโมฆะข้อสังเกตข้อความในสัญญาก่อนสมรสต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือระบุให้ใช้กฎหมายของประเทศอื่นบังคับ มิฉะนั้น เป็นโมฆะมาตรา 1465 วรรคสอง ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน ถ้าทำสัญญาก่อนสมรสไว้ว่าเมื่อหย่าขาดจากกันแล้ว ให้สินสมรสทั้งหมดเป็นของหญิงฝ่ายเดียว สัญญาดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้ เพราะไม่ใช่สัญญาเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน แต่เป็นสัญญาเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินหลังการหย่า ใช้บังคับมิได้ การทำสัญญาก่อนสมรสทำได้เฉพาะเรื่อง ทรัพย์สิน เท่านั้น จะทำเกี่ยวกับ หนี้สิน มิได้ แบบของสัญญาก่อนสมรสมาตรา 1466 ต้องจดแจ้งข้อตกลงไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือ ทำเป็นหนังสือต่างหาก ลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรสพร้อมกับจดไว้ในทะเบียนสมรสขณะจดทะเบียนสมรสว่ามีสัญญานั้นแนบไว้ มิฉะนั้น สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ(ดูฎีกาที่ 3346/32)การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาก่อนสมรสมาตรา 1467 ต้องได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อศาลอนุญาตแล้ว ศาลจะแจ้งไปยังนายทะเบียนเพื่อจดการเปลี่ยนแปลงนั้นไว้ในทะเบียน ผลของสัญญาก่อนสมรสต่อบุคคลภายนอกมาตรา 1468 ข้อความในสัญญาก่อนสมรสไม่มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริตไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรสโดยคำสั่งศาลหรือไม่ ฎ.1082/2504 ที่ดินและเรือนเป็นของภริยาก่อนสมรส แม้จะได้ทำสัญญาก่อนสมรสว่าสามีจะไม่เกี่ยวข้องก็ตาม แต่เมื่อภริยายอมให้สามีลงชื่อในใบไต่สวนเพื่อขอออกโฉนดว่าเป็นของสามี แล้วสามีเอาไปจำนองผู้อื่นและเอาเงินที่ได้มานั้นซื้อรถยนต์โดยสารเป็นอาชีพของสามีภริยา เป็นเหตุให้ผู้รับจำนองเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นที่ดินของสามี ดังนี้ การจำนองสมบูรณ์ และผูกพันภริยา 2) สัญญาระหว่างสมรสมาตรา 1469 (ออกสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาปี 2548 ฎ.890/17,818/46)มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตข้อสังเกต กฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้เป็นพิเศษว่าต้องจดไว้ในทะเบียนเหมือนสัญญาก่อนสมรส ซึ่งสัญญาระหว่างสมรสส่วนใหญ่ได้แก่ สัญญาซื้อขาย สัญญาให้ทรัพย์สินระหว่างกัน สัญญาเช่าทรัพย์ รวมถึงสัญญาแบ่งสินสมรส แต่อย่างไรก็ดี มาตรา 1476/1 ห้ามมิให้ทำสัญญาระหว่างสมรสในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสที่สำคัญที่สามีภริยาต้องจัดการร่วมกัน และสามีภริยามีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสเสียได้ แต่ต้องบอกล้างเสียในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายใน 1 ปี นับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ฎ.4211/2531 การที่ภริยาฟ้องสามีเป็นคดีอาญาฐานทำร้ายร่างกายและหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ สามียอมรับผิดและตกลงใช้ค่าเสียหาย 400,000 บาท และยอมให้ภริยามีสิทธิถอนเงินฝากในธนาคารที่สามีภริยามีชื่อร่วมกันแต่เพียงผู้เดียว ภริยาจึงถอนฟ้อง ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่สามีกระทำละเมิดต่อภริยา รวมทั้งค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างแยกกันอยู่ ไม่เกี่ยวกับการถอนฟ้องคดีอาญา มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย หาได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ และไม่ใช่สัญญาระหว่างสมรสตามมาตรา 1469 ที่สามีสามารถจะบอกล้างได้ ฎ.7978/2542 บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินที่ให้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทนั้น เป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469 เมื่อโจทก์กับจำเลยยังไม่ได้หย่ากัน โจทก์สามารถบอกล้างได้ ซึ่งการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอหย่าและขอแบ่งสินสมรส แม้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้วฎ.4744/2539 การที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในระหว่างสมรส มีผลทำให้ที่ดินตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยนั้น บันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่โจทก์มีสิทธิบอกล้างได้ตามมาตรา 1469 มิใช่สัญญาให้ซึ่งจะถอนคืนการให้ได้ต่อเมื่อมีเหตุเนรคุณตาม ป.พ.พ.มาตรา 531 ฎ.5191/2540 ทรัพย์พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส ซึ่งควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกว่าเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม มาตรา 1469 ที่ทำให้ทรัพย์พิพาทไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป แม้ตามมาตรา 1469 คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะบอกล้างเสียได้ก็ตาม การที่โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์จะอยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือว่าโจทก์ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสนั้นแล้ว แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา (ออกสอบบ่อยมาก ต้องจดจำให้ได้) มี 2 ประเภท คือ (1) สินส่วนตัวมาตรา 1471 (2) สินสมรสมาตรา 1474 (1) สินส่วนตัว มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการ ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา (4) ที่เป็นของหมั้นสินส่วนตัว(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรสฎ.4650/45 โจทก์จำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามมาตรา 1471(1) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว 200,000 บาท ส่วนจำเลยลงทุน 100,000 บาท กิจการร้านเสริมสวยจึงเป็นสินส่วนตัวโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุนคือ 2 ต่อ 1 (2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการ ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฎ.3666-7/35 สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาทและพระเลี่ยมทอง 10 องค์ เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ แม้สามีจะซื้อให้ภริยาในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของภริยา(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา เช่น ระหว่างสมรสสามีได้รับมรดก 10 ล้านบาท เงินจำนวนนี้เป็นสินส่วนตัวของสามี หรือระหว่างสมรสมารดาของภริยายกแหวนเพชร 10 วงให้แก่ภริยา แหวนเพชร 10 วง นี้เป็นสินส่วนตัวของภริยาฎ.4982/41 แม้ผู้ร้องจะได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรสกับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับการยกให้ที่ดินภายหลังใช้บรรพ 5 ใหม่ พ.ศ.2519 แล้ว เมื่อไม่ปรากฏมีหนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่าเป็นการยกให้ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471(3)ข้อสังเกต การยกทรัพย์สินให้โดยเสน่หาจะรวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันระหว่างสมรสได้(ออกสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาปี 31 และปี 48 ฎ.337/30)ระหว่างสมรส สามีจดทะเบียนให้ที่ดินแก่ภริยา 7 แปลง ที่ดินเป็นสินส่วนตัวภริยา(ฎ.818/46)ของแทนสินส่วนตัว(ประเด็นมาตรานี้ยังไม่เคยออกสอบ ให้ระวังไว้ด้วย)มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์อื่นมาก็ดี หรือขายได้เงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มา นั้นเป็นสินส่วนตัว สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สิน อื่นหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว ฎ.2039/22 ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของสามีได้เปลี่ยนแปลงไปโดยแลกเปลี่ยนกับที่ดินหนึ่งแปลงกับสิทธิที่ได้รับเงินตอบแทนอีกจำนวนหนึ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ดินที่ได้มาใหม่กับสิทธิที่จะได้รับนั้นเป็นสินส่วนตัวของสามีฎ.676/11 ภริยาเอาเงินสินส่วนตัวซ่อมแซมบ้านซึ่งเป็นสินส่วนตัว และปลูกบ้านใหม่บนที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัว แม้จะกระทำภายหลังการสมรส บ้านที่ซ่อมแซมและบ้านที่ปลูกใหม่ก็ย่อมเป็นสินส่วนตัว(2) สินสมรส มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส (3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัวถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ข้อสังเกต สินสมรส (1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสนอกจากโดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา ถือว่าเป็นสินสมรสทั้งสิ้นเช่น สามีรับราชการได้เงินเดือนเดือนละ 15,000 บาท ภริยาถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นเงิน 29,000,000 บาท หรือสามีเป็นกรรมกรถูกปลดออกจากงานได้รับเงินชดเชย 40,000 บาท(ฎ.93/31) เงินเหล่านี้เป็นสินสมรสฎ.1053/37 จำเลยใช้เงินของจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลก่อนสมรสกับโจทก์ สลากกินแบ่งฯออกรางวัลหลังจากโจทก์จำเลยสมรสกันแล้วและถูกรางวัล เงินรางวัลที่ได้รับมาดังกล่าวถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ย่อมเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474(1) (2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส เช่นบิดาของสามีถึงแก่ความตายและทำพินัยกรรมยกเงิน 1,000,000 บาท ให้สามีโดยระบุว่าให้เป็นสินสมรส เงินจำนวนนี้เป็นสินสมรส แต่ถ้าไม่ระบุว่าให้เป็นสินสมรส เงินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของสามี(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัวดอกผลธรรมดาหรือดอกผลนิตินัยของสินส่วนตัวเป็นสินสมรสทั้งสิ้นเช่น ก่อนสมรสสามีมีเงินฝากธนาคาร 100,000 บาท หลังจากสมรสธนาคารให้ดอกเบี้ย 6,000 บาท เงินดอกเบี้ย 6,000 บาท เป็นดอกผลนิตินัยของเงินต้นจึงเป็นสินสมรสข้อสังเกต ราคาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นโดยตัวเองมิใช่ดอกผลของทรัพย์สินจึงมิใช่สินสมรส(ประเด็นนี้ออกสอบเนติฯสมัยที่ 58) เช่น ที่ดินสินส่วนตัวของภริยาราคา 500,000 บาท หลังจากสมรสแล้วราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 700,000 บาท ภริยาจึงขายที่ดินไป เงินที่ขายได้ทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวภริยาการจัดการสินสมรสตามมาตรา 1476 ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ (2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี (4) ให้กู้ยืมเงิน (5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ตามหน้าที่ธรรมจรรยา หมายถึง การให้ที่ผู้ให้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องให้ แต่มีหน้าที่ทางศีลธรรมจรรยาอันเป็นความรู้สึกทางจิตใจที่จะต้องให้ ฎ. 3471/2531 สามียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่บุตรโดยเสน่หา แม้ไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา แต่พร้อมกันนั้นก็ยกที่ดินให้แก่บุตรคนอื่น ๆ ในจำนวนที่มากกว่า และยังเหลือที่ดินอีกจำนวนหนึ่ง ถือว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ชอบด้วย ม.1476 (5) ภริยาจะขอให้เพิกถอนการให้ดังกล่าวไม่ได้ ฎ. 7419/2543 แม้ ว. ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่โดยทางธรรมจรรยาซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบภายในจิตใจของผู้เป็นบิดา ว.ย่อมมีความผูกพันที่จะให้การเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเกิดมาโดยปราศจากความผิดใด ๆ และ ว. ก็ได้จัดให้จำเลยได้รับการศึกษาและดูแลจำเลยตลอดมาจนกระทั่ง ว. ถึงแก่ความตาย การที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ศ. มารดาจำเลย โดยบ้านและที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่ ว. มีอยู่ จึงเป็นการให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปตามมาตรา 1476 (5) โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนตามมาตรา 1480 (6) ประนีประนอมยอมความ ฎ. 2910/2531 ภริยาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสกับจำเลยแล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและให้คืนมัดจำ ภริยาจึงทำสัญญาประนีประนอมในศาลยอมชำระเบี้ยปรับและคืนมัดจำให้ ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายระงับลงแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ม.852 สามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ จึงมิใช่การจัดการสินสมรสตามมาตรา 1476 , 1477 และ 1480 สามีฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ (7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย (8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อศาลหรือเจ้าพนักงาน การขอให้ศาลเพิกถอนการทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรสที่ขัดต่อมาตรา 1476 ตามมาตรา 1480 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งขอให้ศาลเพิกถอนการทำนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่ ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้นแล้ว หรือบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน การขอให้ศาลเพิกถอนการทำนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ต้องขอภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันทำ สิทธิในการเพิกถอน ไม่ใช่ สิทธิเฉพาะตัว ตกทอดแก่ทายาทได้ ดังนั้น ทายาทสามารถฟ้องเพิกถอนได้ ฎ.2180/2518 ฎ. 498/2531 การที่จำเลยผู้เป็นสามีได้ขายฝากที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสแก่โจทก์โดยจำเลยร่วมผู้เป็นภริยามิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้ต่อมาจำเลยร่วมจะไปติดต่อขอซื้อที่ดินและบ้านภายหลังครบกำหนดเวลาไถ่คืนแล้ว ก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระหนี้หรือเรียกทวงให้ชำระหนี้อันจะถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแต่อย่างใดไม่ และการที่จำเลยร่วมทราบว่าจำเลยขายฝากทรัพย์สินแก่โจทก์ ไม่ว่าทราบก่อนหรือทราบภายหลังครบกำหนดสัญญาแล้วไม่ได้ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาขายฝากดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันเช่นเดียวกัน สัญญาขายฝากดังกล่าวจึงอาจถูกเพิกถอนได้ ฎ.5291/2537 การที่ ฉ. ขายที่พิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีนั้น จำเลยอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามมาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการเพิกถอน สัญญาย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยเพียงแต่มีหนังสือบอกล้างสัญญาไปยังโจทก์โดยมิได้ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญา สัญญาจึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์มีสิทธิฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ การทำพินัยกรรมในส่วนสินสมรส มาตรา 1481 สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสิน สมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ ข้อสังเกต ถ้าไม่เกินส่วนของตน สามารถยกให้ได้(ฎ.7200/40 เทียบกับฎ.1083/40) มาตรา 1481 เป็นบทบังคับโดยเด็ดขาด แม้คู่สมรสจะยินยอมก็ไม่อาจทำได้ ฎ.505/09,1083/40)ฎ. 1083/2540 ในการทำพินัยกรรมเกี่ยวกับสินสมรสระหว่างสามีภริยา ต้องบังคับตามมาตรา 1481 ที่ระบุว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ ช. สามีทำพินัยกรรมยกสินสมรสของตนให้บุคคลอื่น ข้อตกลงนั้นย่อมฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว และยังขัดต่อความมุ่งหมายของมาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่บุคคลอื่นได้ ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้ หนี้สินของสามีภริยา แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ (1) หนี้ก่อนสมรส (2) หนี้ระหว่างสมรส หนี้ส่วนตัว หนี้ร่วม หนี้ร่วมมาตรา 1490 มี 4 กรณี คือ (1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามควรแก่อัตภาพ ฎ. 2515/2531 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานและความเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรไว้ต่อโจทก์ โดยผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาของจำเลยที่ 1 และเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ไม่คัดค้าน แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องร่วมเป็นคู่สัญญาหรือยินยอมด้วย เมื่อการค้ำประกันดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของผู้ค้ำประกันเอง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานซึ่งผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ทำด้วยกัน จึงไม่เป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 1490 ผู้ร้องจึงไม่ผูกพันในมูลหนี้เรียกทรัพย์คืนและค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และมีสิทธิเรียกร้องขอกันส่วนในที่พิพาทกึ่งหนึ่งซึ่งผู้ร้องมีส่วนในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมได้ ฎ.1605-1606/2537 ขณะที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีไปติดต่อขอสินเชื่อจากโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 กับผู้ร้องผู้เป็นภริยาได้แยกกันอยู่ จำเลยที่ 1 มิได้นำสินเชื่อที่ได้รับจากโจทก์ไปใช้อุปการะเลี้ยงดูผู้ร้อง หนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว ไม่ใช่หนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องตามมาตรา 1490 ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันส่วนจากเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสได้กึ่งหนึ่งในฐานะคู่สมรสผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม (2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส ฎ. 3141/2532 จำเลยกู้เงินโจทก์ไปไถ่จำนองที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรส หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสอันเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (2) ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาไม่มีสิทธิขอกันส่วน (3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ฎ.1852/2535 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของผู้ร้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์และให้ผู้ร้องสามารถเบิกจ่ายเงินจากบัญชีได้ด้วย ย่อมมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อนำเงินมาลงทุนทำการค้าขายพืชไร่ร่วมกัน ถือเป็นหนี้ร่วมอันเกิดขึ้นเนื่องจากการงานที่สามีภริยาทำด้วยกันตามมาตรา 1490 (3) ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วน (4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายได้ให้สัตยาบัน การให้สัตยาบันกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องทำอย่างไร การลงชื่อเป็นพยานในสัญญาก็ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันได้เช่น ภริยาไปกู้เงิน สามีลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ก็ถือว่าสามีให้สัตยาบันแล้ว(ฎ.1026/13)
#3
21 February 2009, 02:43

คนตัวเล็ก
สัตว์เลี้ยง Slowpoke

เป็นสมาชิกเมื่อ: Feb 2009
ตอบ: 1,080

กลุ่มที่ 4 ความเป็นโมฆะของการสมรสให้ดูมาตราที่สำคัญคือ 1494,1495,1496,1497,1498,1499ขอบเขตความเป็นโมฆะของการสมรส มาตรา 1494 การสมรสจะเป็นโมฆะก็แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ใน หมวดนี้ บทบัญญัติที่ฝ่าฝืนเป็นโมฆะ มาตรา 1495 การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ สรุป การสมรสที่เป็นโมฆะมาตรา 1495 เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ มี 4 กรณี คือ (1) การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1449 เช่น ชายปกติสมรสกับหญิงบ้า การสมรสนี้เป็นโมฆะ (2) การสมรสที่ชายหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิต เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเ ดียวกัน หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1450 เช่น พี่ชายสมรสกับน้องสาวต่างมารดา ปู่สมรสกับหลานสาว (3) การสมรสซ้อนเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1452 เช่น ชายจดทะเบียนสมรสกับหญิงสองคนหรือหญิงจดทะเบียนสมรสกับชายสองคน การสมรสครั้งที่สองของชายหรือหญิงดังกล่าวเป็นโมฆะ ข้อสังเกต การกล่าวอ้างการสมรสที่เป็นโมฆะ นั้นไม่มีอายุความ(ประเด็นนี้อาจารย์หม่อมหลวงเฉลิมชัย ไกรฤกษ์ บรรยายแบบเน้นๆในวิชามรดก สมัยที่ 60)(ฎีกาย่อ) คำพิพากษาฎีกาที่ 3423/2549แพ่ง อายุความ(ม.193/30)สมรส โมฆะ(ม.1495)วิ.แพ่ง แบบพิมพ์(ม.67)บรรยายฟ้อง(ม.172)การกล่าวอ้างความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมนั้น กฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาหรืออายุความไว้ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยกความเป็น โมฆะของการสมรสซ้อนขึ้นกล่าวอ้างเมื่อใดก็ได้ไม่อยู่ภายใต้บังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30คำฟ้องของโจทก์รวมทั้งใบแต่งทนายความและเอกสารทุกฉบับ ที่โจทก์ยื่นต่อศาล ระบุชื่อศาลว่า “ศาลจังหวัดธัญบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว” แต่ขณะยื่นฟ้องยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้เปิดทำการศาลจังหวัดธัญบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ที่โจทก์ระบุชื่อ ศาลดังกล่าวในคำฟ้องของโจทก์รวมทั้งเอกสารทุกฉบับของโจทก์ ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นจึงเป็นข้อผิดพลาดของโจทก์ เป็นเรื่องเล็กน้อย แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว ศาลจะยกขึ้น เป็นเหตุไม่รับฟ้องไม่ได้ (จากคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2549 ตอนที่ 5 จัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภา หน้าที่ 903)การสมรสที่เป็นการสมรสซ้อน แม้ต่อมาการสมรสเดิมสิ้นสุดลง ก็ไม่ทำให้การสมรสซ้อน กลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ การสมรสซ้อนมิได้หมายความแต่เฉพาะการจดทะเบียนสมรสครั้งที่สองซ้อนเข้ามาในระหว่างการจดทะเบียนสมรสครั้งที่หนึ่ง เท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการสมรสครั้งที่สองในขณะที่ตนมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายในทุกกรณีด้วย เช่น ฎ. 7254/2539 ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภริยากันมาตั้งแต่ปี 2462 โดยมิได้ทิ้งร้าง จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตลอดมา ส่วนจำเลยเพิ่งอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชน์ บรรพ 5 ใช้บังคับแล้ว การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะ ฎ.6051/2540 เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วยมาตรา 1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส. สามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนสมรสในขณะที่ ส. มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1452 (4) การสมรสที่ชายหญิงไม่ยินยอมเป็นสามีภริยากันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1458 เช่น ชายหญิงสมรสกันหลอกๆเพื่อจะได้มีสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ในฐานะที่มีคู่สมรส หรือเพื่อให้หญิงมีสิทธิของสัญชาติไทยตามชายผู้เป็นสามี การกล่าวอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะ แม้การสมรสจะฝ่าฝืนเงื่อนไขอันทำให้การสมรสเป็นโมฆะก็ตาม แต่มาตรา 1496 และ มาตรา 1497 วางหลักว่า เฉพาะคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ ยกเว้น การสมรสซ้อนเท่านั้น ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้น หรือขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ ผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถกล่าวอ้างความเป็นโมฆะของการสมรสได้ทันที การกล่าวอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะ แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ (1) การสมรสเป็นโมฆะในกรณีปกติมาตรา 1449 ,1450, 1458 ไม่สามารถกล่าวอ้างความเป็นโมฆะได้ทันที จะต้องมีการนำคดีขึ้นสู่ศาล ได้ 2 กรณีคือ1) คู่สมรส บิดาและมารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส เป็นผู้ร้องขอต่อศาล2) พนักงานอัยการ(2) การสมรสเป็นโมฆะในกรณียกเว้นได้แก่การสมรสซ้อนตามมาตรา 1452 ผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้างขึ้นได้ทันที ข้อสังเกตผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึงบุคคลที่ถูกกระทบกระเทือนหรือหน้าที่อันเนื่องมาจากการสมรสซ้อนนั้น ได้แก่ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสซ้อน บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร หรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของชายหรือหญิงดังกล่าว และคู่สมรสที่ชอบด้วยกม.ของชายหรือหญิงนั้น ฎ. 1225/2535 แม้ผู้ร้องกับ ป. จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่ ป. มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว อันเป็นผลที่ทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. เป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องกับ ป. หย่าขาดจากกันแล้ว การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. จึงสิ้นสุดลงด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับ ป. จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. เป็นโมฆะไม่ได้ ฎ.4218/2539 แม้การสมรสระหว่าง น. กับจำเลยจะเป็นโมฆะ เพราะ น. สมรสกับโจทก์อยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อ น. ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างจำเลย กับ น.จึงสิ้นสุดลงแล้วด้วยความตายของ น. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ขอให้เพิกถอนการสมรสระหว่าง น. กับจำเลยไม่ได้ ฎ. 6788/2541 ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ป. ป.ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อยู่ก่อนแล้วและยังเป็นคู่สมรสกับโจทก์ที่ 1 ตลอดมาจนกระทั่ง ป. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. จึงฝ่าฝืนมาตรา 1452 เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 จำเลยจะอ้างว่าได้สมรสโดยสุจริต การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. ไม่เป็นโมฆะหาได้ไม่ โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของ ป. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของ ป. จึงขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. ได้ ฎ.3279/2542 สามีที่จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นผู้กระทำการโดยไม่สุจริตจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของสามีตนเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้จดทะเบียนรับว่าเป็นบุตรแล้วมีสิทธิเพียงรับมรดกของบิดากับมารดาของตนเมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตายแล้วเท่านั้น ฉะนั้น การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนจึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิของบุตรในการรับมรดก มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของบิดาตนเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 เช่นเดียวกันผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ (ประเด็นนี้ต้องจดจำให้ดีนะครับ) (1) ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา มาตรา 1498 วรรคแรก การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาข้อสังเกต การสมรสที่เป็นโมฆะถือว่าเสียเปล่ามาตั้งแต่แรกเริ่ม คู่สมรสไม่มีความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินต่อกัน สินสมรสและสินส่วนตัวไม่เกิดขึ้น คู่สมรสฝ่ายใดได้ทรัพย์สินมาก่อนหรือหลังจากการจดทะเบียนสมรส รวมทั้งดอกผลของทรัพย์สินยังคงเป็นของคู่สมรสฝ่ายนั้นโดยลำพังเพียงผู้เดียวเช่นพี่ชายกับน้องสาวจดทะเบียนสมรสกัน แม้ก่อนจะมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ พี่ชายผู้เป็นสามีได้เงินดือนมา 80,000 บาท แล้วนำไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 10,000 บาท เงินต้นและดอกเบี้ย 90,000 บาทนี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของสามีแต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินที่คู่สมรสในการสมรสที่เป็นโมฆะนี้ได้ทำมาหาได้ร่วมกันต้องถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทั้งสองฝ่ายตามสัดส่วนเท่ากันจึงต้องนำมาแบ่งคนละครึ่ง(2) ไม่ทำให้คู่สมรสที่สุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรส และมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพและค่าทดแทนได้อีกด้วยมาตรา 1499(ออกสอบเนติฯสมัยที่ 52)มาตรา 1499 การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือมาตรา 1458 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะการสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือหญิงนั้นรู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่การสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าว ไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ..............(3) ไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตมาตรา 1500(4) ไม่กระทบกระเทือนถึงการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1536 วรรคสองและมาตรา 1538 ฎ.1580/2494 บุตรที่เกิดในระหว่างที่บิดามารดาสมรสอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว จนกระทั่งบิดาถึงแก่กรรม จึงมีคำพิพากษาชี้ขาดว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดามารดานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะขณะนั้นบิดายังมีภริยาเดิมอยู่มิได้หย่าขาดกัน ดังนี้ ก็ต้องถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา จึงมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดากลุ่มที่ 5 การสิ้นสุดแห่งการสมรสให้ดูมาตราที่สำคัญ 1501,1502,1503,1504,1507-1509,1514,1516,1518,1531,1532,1533การสิ้นสุดของการสมรส มาตรา 1501 การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการหย่า มี 2 กรณี คือ (1) หย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย (2) หย่าโดยคำพิพากษาของศาล (1) การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่ายมาตรา 1514 มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษาของศาล การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน ข้อสังเกต1.1 การหย่าโดยความยินยอม ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานอย่างน้อย 2 คน ฎ.151/2487 กฎหมายมิได้บังคับว่าคู่หย่าจะต้องลงชื่อต่อหน้าพยาน เพียงแต่บังคับว่าหนังสือหย่าต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน เท่านั้น การที่จำเลยไม่ได้ลงชื่อต่อหน้าพยาน 2 คน แต่ได้ลงชื่อต่อหน้าพยานเพียงคนเดียว เมื่อหนังสือหย่ามีพยาน 2 คน แล้วหนังสือหย่าชอบด้วยกฎหมายฎ. 1160/2494 สามีภริยาตกลงหย่ากันโดยทำเป็นหนังสือหย่าขึ้น 2 ฉบับ ต่างยึดถือไว้คนละฉบับมีข้อความอย่างเดียวกันและมีพยาน 2 คน ฉบับที่สามีเป็นผู้ยึดถือไว้ ภริยาเป็นผู้ลงนาม ฉบับที่ภริยาเป็นผู้ยึดถือไว้ สามีเป็นผู้ลงนาม หาได้ลงนามในฉบับเดียวกันไม่ ดังนี้ หนังสือหย่าสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว 1.2 การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนหย่าแล้ว มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้วข้อสังเกต การหย่าที่ต้องจดทะเบียนหย่า ใช้บังคับเฉพาะการสมรสที่ได้จดทะเบียนตามบรรพ 5 เท่านั้น ชายหญิงที่เป็นสามีภริยากันก่อนใช้บรรพ 5โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อหย่ากันเพียงแต่ทำหนังสือหย่าตามมาตรา 1514 เท่านั้นโดยไม่ต้องจดทะเบียนหย่าตาม มาตรา1515 ถ้าสามีภริยาทำหนังสือหย่ากันโดยถูกต้องแล้ว ถ้าฝ่ายใดไม่ไปจดทะเบียนหย่า อีกฝ่ายฟ้องให้ไปจดทะเบียนหย่าได้ ( ฎ.3838/2528 ) การฟ้องขอให้ไปจดทะเบียนหย่า มีอายุความ 10 ปี ( ฎ.1820/2537 ) (2) การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ( มาตรา 1516 ) เหตุฟ้องหย่ามี 13 เหตุ ซึ่งใช้บังคับได้ในทุกกรณีที่มีการฟ้องหย่า ไม่ว่าสามีภริยาจะสมรสกันตามกฎหมายใด ลักษณะผัวเมีย บรรพ 5 เก่า บรรพ 5 ใหม่ หรือบรรพ 5 ปัจจุบัน หรือตามกฎหมายของต่างประเทศหรือเป็นชาวต่างประเทศก็ตามเหตุฟ้องหย่า (1) สามีอุปการะหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้ (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าการประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง ( ก ) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง ( ข ) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป ( ค ) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร เมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี 4.1 สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน 1 ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร 4.2 สามีหรือภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเป็นเวลาเกิน 3 ปี ฎ.1633/2542 เหตุฟ้องหย่าเพราะเหตุที่สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี นั้น สามีและภริยาทั้งสองคนต้องสมัครใจแยกกันอยู่ต่างหากจากกัน โดยบุคคลทั้งสองต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย มิใช่สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวสมัครใจแยกไปอยู่ต่างหากแล้วจะทำให้ฝ่ายนั้นมีสิทธิฟ้องหย่าได้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายหนีออกจากบ้านไปโดยลำพังโดยจำเลยมิได้สมัครใจยินยอมให้โจทก์ไปแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงที่สำนักงานทนายความ ก็ไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าจำเลยสมัครใจยินยอมให้โจทก์แยกไปอยู่ต่างหาก ทั้งบันทึกดังกล่าวก็เพิ่งทำขึ้นเมื่อนับถึงวันฟ้องเพียง 1 ปีเศษ ยังไม่เกิน 3 ปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 1516(4/2)( ฎ.7004/2539 , 1762/2542 , 5196/2538 , 83/2542 ทำนองเดียวกัน ) ฎ.4815/2539 โจทก์ออกจากบ้านที่ปลูกสร้างและอยู่กินกับจำเลยเพราะต้องการพาบิดาซึ่งป่วยเป็นโรคหัวใจไปให้พ้นจากบิดาจำเลยซึ่งชอบดื่มเหล้าแล้วส่งเสียงดัง โจทก์จำเลยเคยตกลงจะไปจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน แต่หย่ากันไม่ได้เพราะโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาและการแยกกันอยู่ดังกล่าวเป็นเวลานับถึงวันฟ้องเกิน 3 ปี แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตาม ม.1516 (4/2)( ฎ.1771/2540 , 8225/2540 ทำนองเดียวกัน ) (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ เป็นเวลาเกิน 3 ปี โดยไม่มีทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ ฎ.3461/2524 จำเลยซึ่งเป็นสามีถูกคนร้ายยิงหัวเข่าจนพิการงอขาไม่ได้ ต้องพักรักษาตัวอยู่กับบ้านไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรนั้น สามีไม่อยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูภริยาได้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้เป็นภริยาที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยผู้เป็นสามีตามมาตรา 1461 วรรคสอง ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์จึงฟังไม่ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยฎ.6023/2537 โจทก์ให้ความสนิทสนมกับ นางสาว ท. มากเกินกว่าที่ผู้บังคับบัญชาทั่วไปจะพึงปฏิบัติ ประกอบกับการที่โจทก์จงใจแยกตัวไปอยู่ต่างหากจากครอบครัวย่อมมีเหตุผลเพียงพอที่จำเลยในฐานะภริยาจะปักใจเชื่อว่าโจทก์และนางสาว ท. มีความสัมพันธ์กันทางชู้สาว การที่จำเลยมีหนังสือขอความเป็นธรรมไปยังผู้บังคับบัญชาโจทก์ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ในทางชู้สาวระหว่างโจทก์กับนางสาว ท. ในพฤติการณ์ที่จำเลยถูกกดดันทางการเงินโดยโจทก์ไม่ให้ความยินยอมในการกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำมาใช้สร้างบ้านอยู่อาศัยกับบุตรโดยไม่มีเหตุผล ทั้งที่เคยให้ความยินยอมมาแล้ว ตลอดทั้งจำเลยตกอยู่ในภาวะที่อาจสูญเสียโจทก์ผู้เป็นสามีไป จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จำเลยขวนขวายเพื่อขอความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชาโจทก์และเพื่อปกป้องสิทธิในครอบครัวตลอดจนบุตรผู้เยาว์ของตน ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย( ฎ.1932/2536 , 766/2526 ทำนองเดียวกัน ) (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ ฎ.2553/2526 ก่อนจดทะเบียนสมรสโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า “ ฝ่ายภริยาจะไม่ประพฤติตัวผิดจารีตประเพณีและให้อยู่กินปรนนิบัติในฐานะสามีภริยาอยู่กินร่วมกันตลอดไปและจะไม่ประพฤติปฏิบัตินอกใจสามีอีกต่อไป เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้กระทำผิดเงื่อนไขยินยอมให้ปรับเป็นเงิน 50,000 บาท “ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติของภริยาตามมาตรา 1516 (8) ซึ่งเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าภริยาได้ แต่ค่าปรับนั้นสูงเกินส่วนจึงให้ลดค่าปรับลงกึ่งหนึ่ง(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางจะหายได้ (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อายุความฟ้องหย่า ( มาตรา 1529 ) กำหนด 1 ปี ใช้เฉพาะเหตุหย่าที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงในคราวเดียว เช่น เหตุหย่าตาม มาตรา 1516 (1) (2) (3) (6) ส่วนเหตุหย่าที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปหรือเป็นการถาวร เช่น เหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4) (5) (7) (9) (10) ไม่มีอายุความ ตราบใดที่เหตุนั้น ๆ ยังมีอยู่ก็ฟ้องหย่าได้ เหตุฟ้องหย่าตาม ม.1516 (8) ไม่มีลักษณะต่อเนื่องกันไป แต่กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ผลของการหย่า (1) การใช้อำนาจปกครองบุตรมาตรา 1520 กรณีหย่าโดยความยินยอม ( มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง) หากตกลงกันได้ให้ทำเป็นหนังสือ (โดยระบุให้ชัดแจ้งว่า ) ฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ฎ.2565/2536 ข้อตกลงมีข้อความว่า “ให้บุตรอยู่ในความอุปการะของสามี” ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงกำหนดหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่ใช่ข้อตกลงในเรื่องอำนาจปกครองบุตรตามมาตรา 1520 อำนาจปกครองบุตรยังอยู่กับบิดาและมารดากรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ซึ่งศาลกำหนด( มาตรา 1520 วรรคท้าย ) (2) การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตร 1522 กรณีหย่าโดยความยินยอม ให้ตกลงกันไว้ในสัญญาหย่า หากฝ่ายใดผิดสัญญา อีกฝ่ายฟ้องได้ กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หรือ สัญญาหย่ามิได้ตกลงเรื่องค่าอุปการะไว้ ศาลเป็นผู้กำหนด (3) การเรียกค่าทดแทนมาตรา 1523 ( ก ) กรณีภริยามีชู้หรือมีการล่วงเกินภริยาในทางชู้สาว สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชายชู้ทั้งสองคน หรือฟ้องคนใดคนหนึ่งก็ได้ หากฟ้องทั้งสองคนต้องฟ้องหย่าภริยาและศาลพิพากษาให้หย่ากันด้วยเหตุภริยามีชู้ด้วย หากไม่ฟ้องหย่าภริยา สามีจะเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้ไม่ได้ แต่ถ้าสามีไม่ประสงค์จะฟ้องหย่าภริยา จะฟ้องเรียกค่าทดแทนเฉพาะจากชายชู้ก็ได้ โดยอ้างเหตุเพราะมีการล่วงเกินภริยาในทางชู้สาว ในกรณีเช่นนี้สามีจะเรียกค่าทดแทนจากภริยาไม่ได้เพราะมิได้ฟ้องหย่าภริยา ฎ.320/2530 การล่วงเกินภริยาในทางชู้สาว หมายถึงการทำชู้ด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภริยาในทางชู้สาวนี้กฎหมายมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าสามีจะต้องฟ้องหย่าภริยาเสียก่อนจึงจะมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นชู้กับภริยาโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ โดยไม่จำต้องฟ้องหย่าภริยาโจทก์ด้วย ฎ.454/2533 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นชู้กับจำเลยที่ 2 ภริยาโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่จำต้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ด้วย ( ข ) กรณีสามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากสามีและภริยาน้อยได้ ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเสียก่อน หากภริยาไม่ฟ้องหย่าต่อศาล ภริยามีสิทธิเพียงเรียกค่าทดแทนจากภริยาน้อยในฐานะที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทางชู้สาวเท่านั้น จะเรียกค่าทดแทนจากสามีไม่ได้ ฎ. 2940/2538 การเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทางชู้สาวนั้นมาตรา 1523 วรรคสอง มิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาต้องฟ้องหย่าสามีก่อนจึงเรียกค่าทดแทนได้ ( ค ) การเรียกค่าทดแทนตาม ( ก ) และ ( ข ) หากสามีหรือภริยาได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจด้วย สามีหรือภริยาจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้มาตรา 1523 วรรคท้าย (4) การเรียกค่าเลี้ยงชีพ 1) การหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายเดียวและการหย่าทำให้อีกฝ่ายยากจนลง มาตรา 1526 การหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายที่ถูกเรียกร้องแต่ฝ่ายเดียว การหย่าทำให้คู่สมรสนั้นต้องยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส คู่สมรสนั้นต้องเรียกค่าเลี้ยงชีพมาในคดีฟ้องหย่าด้วย จะเรียกค่าเลี้ยงชีพภายหลังไม่ได้มาตรา 1526 วรรคท้าย 2) กรณีหย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตหรือโรคติดต่ออย่างร้ายแรงมาตรา 1527 3) คู่สมรสตกลงชำระค่าเลี้ยงชีพกันเอง หากมิได้ตกลงชำระค่าเลี้ยงชีพกันไว้ในสัญญาหย่า จะฟ้องเรียกภายหลังไม่ได้ ฎ. 1228/2523 การที่โจทก์จำเลยสมัครใจหย่ากันเองนั้น ต่างฝ่ายต่างไม่มีหน้าที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูกันอีกต่อไป จะมีได้แต่ก็ค่าเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายยอมให้เรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะในกรณีที่มีคดีฟ้องหย่าต่อศาลซึ่งศาลจะวินิจฉัยว่าเหตุหย่าเกิดเพราะความผิดของใครตาม ม.1526 หากไม่มีการเรียกค่าเลี้ยงชีพไว้ในคดีฟ้องหย่า สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพก็เป็นอันสิ้นสุดลง ส่วนในกรณีคู่สมรสตกลงหย่ากันเองนั้น คู่กรณีชอบที่จะตกลงในเรื่องค่าเลี้ยงชีพกันไว้ ฉะนั้น เมื่อสัญญาหย่าระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้มีการตกลงเรื่องค่าเลี้ยงชีพไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากจำเลย สัญญาที่คู่สมรสตกลงจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่กัน ไม่ใช่ สัญญาระหว่างสมรสตามมาตรา 1469 ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างได้ แต่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526 ( ฎีกาที่ 1365/2522 ) 4) การเลิกชำระค่าเลี้ยงชีพ เมื่อฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพย่อมหมดไปมาตรา 1528 5) สิทธิที่จะได้รับค่าเลี้ยงชีพจะสละหรือโอนไม่ได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีมาตรา 1598/41 ผลของการหย่า 1) การเริ่มต้นในผลของการหย่า ในกรณีหย่าโดยความยินยอม นับแต่เวลาจดทะเบียนหย่ามาตรา1531 วรรคหนึ่ง ในกรณีหย่าตามคำพิพากษา นับแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดมาตรา.1531 วรรคสอง 2) การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ( ก ) เวลากำหนดจำนวนทรัพย์สิน กรณีหย่าโดยความยินยอม ตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่า กรณีหย่าตามคำพิพากษา ตามที่มีอยู่ในวันฟ้องหย่า อายุความฟ้องขอแบ่ง 10 ปี สินสมรสที่ยังไม่ได้แบ่งกัน ถือว่าสามีภริยาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ( ข ) วิธีแบ่งทรัพย์สิน 1) มาตรา 1533 สินสมรสให้แบ่งเท่ากัน(ต้องจดจำ โยงไปมรดกมาตรา 1625)มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนแบ่งเท่ากัน2) มาตรา 1534 ถ้าสินสมรสขาดหายไป เพราะเหตุว่าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้จำหน่ายไป(1) เพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว (2) โดยเจตนาให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย (3) โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง (4) จงใจทำให้เสียหาย ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งตาม มาตรา 1533 และถ้าอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วนแบ่งไม่ครบจำนวนที่ควรจะได้ ให้คู่สมรสที่จำหน่ายสินสมรสไปเพราะเหตุดังกล่าว ชดใช้จากสินสมรสในส่วนของตนหรือจากสินส่วนตัว ฎ.1254/2538 สินสมรสบางรายการจำเลยจำหน่ายไปแล้วและบางรายการยังมีอยู่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยนำหรือจะนำไปใช้ในกิจการที่จำเลยกับโจทก์กระทำร่วมกันหรือนำไปชำระหนี้ที่โจทก์และจำเลยร่วมกันก่อขึ้น ทั้งจำเลยจำหน่ายสินสมรสไปในระหว่างที่โจทก์มิได้อาศัยอยู่กับจำเลย เช่นนี้ เห็นได้ว่าจำเลยจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ ย่อมถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อการจัดแบ่งตามมาตรา 1534 โจทก์มีสิทธิของแบ่งสินสมรสนี้ได้กึ่งหนึ่ง ฎ.7961/2544 ป.พ.พ.มาตรา 1534 ที่บัญญัติว่า “ สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไป....ให้ถือเสมือนว่ายังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งตามมาตรา 1533...” เป็นการแบ่งสินสมรสที่ฝ่ายหนึ่งจำหน่ายจ่ายโอนไปหรือทำให้สูญหายไปโดยมิชอบ ในกรณีที่หย่ากันให้แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ชายหญิงได้เท่ากัน ( โดยคิดจำนวนทรัพย์สินตามที่มีอยู่ในวันจดทะเบียนหย่าหรือวันที่ฟ้องหย่า แล้วแต่กรณี ) แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งในฐานะเจ้าของรวม จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 1534 ดังกล่าว โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยขายที่ดินไปได้เงินเท่าใด โจทก์ก็ควรได้รับกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ขายได้ มิใช่กึ่งหนึ่งของราคาที่ดินปัจจุบัน3) ความรับผิดในหนี้สิน มาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน ฎ.2980/2533 จำเลยกู้เงินบุคคลภายนอกมาใช้จ่ายเกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นสินสมรสโดยโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการกู้เงินดังกล่าว โจทก์จึงต้องรับผิดในหนี้รายนี้ร่วมกับจำเลย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากัน ศาลย่อมกำหนดให้โจทก์จำเลยร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้คนละครึ่ง ฎ.2396/2517 ลูกหนี้ร่วมทุกคนต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นเชิงตามมาตรา 291 สามีภริยาซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้ร่วมจะได้รับชำระเสร็จสิ้นไปเช่นกัน แม้สามีภริยาจะได้หย่าและแบ่งทรัพย์สินหรือแบ่งความรับผิดในหนี้สินต่อกันแล้ว ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากสามีหรือภริยาคนใดคนหนึ่งจนกว่าจะได้รับชำระเสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น ในคดีที่สามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส จำเลยจะขอให้หักหนี้ร่วมออกเพื่อจำเลยจะได้นำไปชำระแก่เจ้าหนี้ คงให้แบ่งสินสมรสกันแต่ส่วนที่เหลือ หาได้ไม่ เพราะหากจำเลยไม่นำไปชำระเจ้าหนี้ก็จะต้องมาบังคับเอากับโจทก์ได้
#4
21 February 2009, 02:43

คนตัวเล็ก
สัตว์เลี้ยง Slowpoke

เป็นสมาชิกเมื่อ: Feb 2009
ตอบ: 1,080

กลุ่มที่ 4 ความเป็นโมฆะของการสมรสให้ดูมาตราที่สำคัญคือ 1494,1495,1496,1497,1498,1499ขอบเขตความเป็นโมฆะของการสมรส มาตรา 1494 การสมรสจะเป็นโมฆะก็แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ใน หมวดนี้ บทบัญญัติที่ฝ่าฝืนเป็นโมฆะ มาตรา 1495 การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ สรุป การสมรสที่เป็นโมฆะมาตรา 1495 เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ มี 4 กรณี คือ (1) การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1449 เช่น ชายปกติสมรสกับหญิงบ้า การสมรสนี้เป็นโมฆะ (2) การสมรสที่ชายหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิต เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเ ดียวกัน หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1450 เช่น พี่ชายสมรสกับน้องสาวต่างมารดา ปู่สมรสกับหลานสาว (3) การสมรสซ้อนเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1452 เช่น ชายจดทะเบียนสมรสกับหญิงสองคนหรือหญิงจดทะเบียนสมรสกับชายสองคน การสมรสครั้งที่สองของชายหรือหญิงดังกล่าวเป็นโมฆะ ข้อสังเกต การกล่าวอ้างการสมรสที่เป็นโมฆะ นั้นไม่มีอายุความ(ประเด็นนี้อาจารย์หม่อมหลวงเฉลิมชัย ไกรฤกษ์ บรรยายแบบเน้นๆในวิชามรดก สมัยที่ 60)(ฎีกาย่อ) คำพิพากษาฎีกาที่ 3423/2549แพ่ง อายุความ(ม.193/30)สมรส โมฆะ(ม.1495)วิ.แพ่ง แบบพิมพ์(ม.67)บรรยายฟ้อง(ม.172)การกล่าวอ้างความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมนั้น กฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาหรืออายุความไว้ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยกความเป็น โมฆะของการสมรสซ้อนขึ้นกล่าวอ้างเมื่อใดก็ได้ไม่อยู่ภายใต้บังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30คำฟ้องของโจทก์รวมทั้งใบแต่งทนายความและเอกสารทุกฉบับ ที่โจทก์ยื่นต่อศาล ระบุชื่อศาลว่า “ศาลจังหวัดธัญบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว” แต่ขณะยื่นฟ้องยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้เปิดทำการศาลจังหวัดธัญบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ที่โจทก์ระบุชื่อ ศาลดังกล่าวในคำฟ้องของโจทก์รวมทั้งเอกสารทุกฉบับของโจทก์ ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นจึงเป็นข้อผิดพลาดของโจทก์ เป็นเรื่องเล็กน้อย แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว ศาลจะยกขึ้น เป็นเหตุไม่รับฟ้องไม่ได้ (จากคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2549 ตอนที่ 5 จัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภา หน้าที่ 903)การสมรสที่เป็นการสมรสซ้อน แม้ต่อมาการสมรสเดิมสิ้นสุดลง ก็ไม่ทำให้การสมรสซ้อน กลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ การสมรสซ้อนมิได้หมายความแต่เฉพาะการจดทะเบียนสมรสครั้งที่สองซ้อนเข้ามาในระหว่างการจดทะเบียนสมรสครั้งที่หนึ่ง เท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการสมรสครั้งที่สองในขณะที่ตนมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายในทุกกรณีด้วย เช่น ฎ. 7254/2539 ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภริยากันมาตั้งแต่ปี 2462 โดยมิได้ทิ้งร้าง จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตลอดมา ส่วนจำเลยเพิ่งอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชน์ บรรพ 5 ใช้บังคับแล้ว การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะ ฎ.6051/2540 เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วยมาตรา 1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส. สามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนสมรสในขณะที่ ส. มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1452 (4) การสมรสที่ชายหญิงไม่ยินยอมเป็นสามีภริยากันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1458 เช่น ชายหญิงสมรสกันหลอกๆเพื่อจะได้มีสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ในฐานะที่มีคู่สมรส หรือเพื่อให้หญิงมีสิทธิของสัญชาติไทยตามชายผู้เป็นสามี การกล่าวอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะ แม้การสมรสจะฝ่าฝืนเงื่อนไขอันทำให้การสมรสเป็นโมฆะก็ตาม แต่มาตรา 1496 และ มาตรา 1497 วางหลักว่า เฉพาะคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ ยกเว้น การสมรสซ้อนเท่านั้น ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้น หรือขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ ผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถกล่าวอ้างความเป็นโมฆะของการสมรสได้ทันที การกล่าวอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะ แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ (1) การสมรสเป็นโมฆะในกรณีปกติมาตรา 1449 ,1450, 1458 ไม่สามารถกล่าวอ้างความเป็นโมฆะได้ทันที จะต้องมีการนำคดีขึ้นสู่ศาล ได้ 2 กรณีคือ1) คู่สมรส บิดาและมารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส เป็นผู้ร้องขอต่อศาล2) พนักงานอัยการ(2) การสมรสเป็นโมฆะในกรณียกเว้นได้แก่การสมรสซ้อนตามมาตรา 1452 ผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้างขึ้นได้ทันที ข้อสังเกตผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึงบุคคลที่ถูกกระทบกระเทือนหรือหน้าที่อันเนื่องมาจากการสมรสซ้อนนั้น ได้แก่ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสซ้อน บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร หรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของชายหรือหญิงดังกล่าว และคู่สมรสที่ชอบด้วยกม.ของชายหรือหญิงนั้น ฎ. 1225/2535 แม้ผู้ร้องกับ ป. จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่ ป. มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว อันเป็นผลที่ทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. เป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องกับ ป. หย่าขาดจากกันแล้ว การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. จึงสิ้นสุดลงด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับ ป. จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. เป็นโมฆะไม่ได้ ฎ.4218/2539 แม้การสมรสระหว่าง น. กับจำเลยจะเป็นโมฆะ เพราะ น. สมรสกับโจทก์อยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อ น. ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างจำเลย กับ น.จึงสิ้นสุดลงแล้วด้วยความตายของ น. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ขอให้เพิกถอนการสมรสระหว่าง น. กับจำเลยไม่ได้ ฎ. 6788/2541 ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ป. ป.ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อยู่ก่อนแล้วและยังเป็นคู่สมรสกับโจทก์ที่ 1 ตลอดมาจนกระทั่ง ป. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. จึงฝ่าฝืนมาตรา 1452 เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 จำเลยจะอ้างว่าได้สมรสโดยสุจริต การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. ไม่เป็นโมฆะหาได้ไม่ โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของ ป. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของ ป. จึงขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. ได้ ฎ.3279/2542 สามีที่จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นผู้กระทำการโดยไม่สุจริตจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของสามีตนเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้จดทะเบียนรับว่าเป็นบุตรแล้วมีสิทธิเพียงรับมรดกของบิดากับมารดาของตนเมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตายแล้วเท่านั้น ฉะนั้น การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนจึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิของบุตรในการรับมรดก มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของบิดาตนเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 เช่นเดียวกันผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ (ประเด็นนี้ต้องจดจำให้ดีนะครับ) (1) ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา มาตรา 1498 วรรคแรก การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาข้อสังเกต การสมรสที่เป็นโมฆะถือว่าเสียเปล่ามาตั้งแต่แรกเริ่ม คู่สมรสไม่มีความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินต่อกัน สินสมรสและสินส่วนตัวไม่เกิดขึ้น คู่สมรสฝ่ายใดได้ทรัพย์สินมาก่อนหรือหลังจากการจดทะเบียนสมรส รวมทั้งดอกผลของทรัพย์สินยังคงเป็นของคู่สมรสฝ่ายนั้นโดยลำพังเพียงผู้เดียวเช่นพี่ชายกับน้องสาวจดทะเบียนสมรสกัน แม้ก่อนจะมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ พี่ชายผู้เป็นสามีได้เงินดือนมา 80,000 บาท แล้วนำไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 10,000 บาท เงินต้นและดอกเบี้ย 90,000 บาทนี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของสามีแต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินที่คู่สมรสในการสมรสที่เป็นโมฆะนี้ได้ทำมาหาได้ร่วมกันต้องถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทั้งสองฝ่ายตามสัดส่วนเท่ากันจึงต้องนำมาแบ่งคนละครึ่ง(2) ไม่ทำให้คู่สมรสที่สุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรส และมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพและค่าทดแทนได้อีกด้วยมาตรา 1499(ออกสอบเนติฯสมัยที่ 52)มาตรา 1499 การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือมาตรา 1458 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะการสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือหญิงนั้นรู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่การสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าว ไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ..............(3) ไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตมาตรา 1500(4) ไม่กระทบกระเทือนถึงการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1536 วรรคสองและมาตรา 1538 ฎ.1580/2494 บุตรที่เกิดในระหว่างที่บิดามารดาสมรสอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว จนกระทั่งบิดาถึงแก่กรรม จึงมีคำพิพากษาชี้ขาดว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดามารดานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะขณะนั้นบิดายังมีภริยาเดิมอยู่มิได้หย่าขาดกัน ดังนี้ ก็ต้องถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา จึงมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดากลุ่มที่ 5 การสิ้นสุดแห่งการสมรสให้ดูมาตราที่สำคัญ 1501,1502,1503,1504,1507-1509,1514,1516,1518,1531,1532,1533การสิ้นสุดของการสมรส มาตรา 1501 การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการหย่า มี 2 กรณี คือ (1) หย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย (2) หย่าโดยคำพิพากษาของศาล (1) การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่ายมาตรา 1514 มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษาของศาล การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน ข้อสังเกต1.1 การหย่าโดยความยินยอม ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานอย่างน้อย 2 คน ฎ.151/2487 กฎหมายมิได้บังคับว่าคู่หย่าจะต้องลงชื่อต่อหน้าพยาน เพียงแต่บังคับว่าหนังสือหย่าต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน เท่านั้น การที่จำเลยไม่ได้ลงชื่อต่อหน้าพยาน 2 คน แต่ได้ลงชื่อต่อหน้าพยานเพียงคนเดียว เมื่อหนังสือหย่ามีพยาน 2 คน แล้วหนังสือหย่าชอบด้วยกฎหมายฎ. 1160/2494 สามีภริยาตกลงหย่ากันโดยทำเป็นหนังสือหย่าขึ้น 2 ฉบับ ต่างยึดถือไว้คนละฉบับมีข้อความอย่างเดียวกันและมีพยาน 2 คน ฉบับที่สามีเป็นผู้ยึดถือไว้ ภริยาเป็นผู้ลงนาม ฉบับที่ภริยาเป็นผู้ยึดถือไว้ สามีเป็นผู้ลงนาม หาได้ลงนามในฉบับเดียวกันไม่ ดังนี้ หนังสือหย่าสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว 1.2 การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนหย่าแล้ว มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้วข้อสังเกต การหย่าที่ต้องจดทะเบียนหย่า ใช้บังคับเฉพาะการสมรสที่ได้จดทะเบียนตามบรรพ 5 เท่านั้น ชายหญิงที่เป็นสามีภริยากันก่อนใช้บรรพ 5โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อหย่ากันเพียงแต่ทำหนังสือหย่าตามมาตรา 1514 เท่านั้นโดยไม่ต้องจดทะเบียนหย่าตาม มาตรา1515 ถ้าสามีภริยาทำหนังสือหย่ากันโดยถูกต้องแล้ว ถ้าฝ่ายใดไม่ไปจดทะเบียนหย่า อีกฝ่ายฟ้องให้ไปจดทะเบียนหย่าได้ ( ฎ.3838/2528 ) การฟ้องขอให้ไปจดทะเบียนหย่า มีอายุความ 10 ปี ( ฎ.1820/2537 ) (2) การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ( มาตรา 1516 ) เหตุฟ้องหย่ามี 13 เหตุ ซึ่งใช้บังคับได้ในทุกกรณีที่มีการฟ้องหย่า ไม่ว่าสามีภริยาจะสมรสกันตามกฎหมายใด ลักษณะผัวเมีย บรรพ 5 เก่า บรรพ 5 ใหม่ หรือบรรพ 5 ปัจจุบัน หรือตามกฎหมายของต่างประเทศหรือเป็นชาวต่างประเทศก็ตามเหตุฟ้องหย่า (1) สามีอุปการะหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้ (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าการประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง ( ก ) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง ( ข ) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป ( ค ) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร เมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี 4.1 สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน 1 ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร 4.2 สามีหรือภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเป็นเวลาเกิน 3 ปี ฎ.1633/2542 เหตุฟ้องหย่าเพราะเหตุที่สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี นั้น สามีและภริยาทั้งสองคนต้องสมัครใจแยกกันอยู่ต่างหากจากกัน โดยบุคคลทั้งสองต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย มิใช่สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวสมัครใจแยกไปอยู่ต่างหากแล้วจะทำให้ฝ่ายนั้นมีสิทธิฟ้องหย่าได้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายหนีออกจากบ้านไปโดยลำพังโดยจำเลยมิได้สมัครใจยินยอมให้โจทก์ไปแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงที่สำนักงานทนายความ ก็ไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าจำเลยสมัครใจยินยอมให้โจทก์แยกไปอยู่ต่างหาก ทั้งบันทึกดังกล่าวก็เพิ่งทำขึ้นเมื่อนับถึงวันฟ้องเพียง 1 ปีเศษ ยังไม่เกิน 3 ปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 1516(4/2)( ฎ.7004/2539 , 1762/2542 , 5196/2538 , 83/2542 ทำนองเดียวกัน ) ฎ.4815/2539 โจทก์ออกจากบ้านที่ปลูกสร้างและอยู่กินกับจำเลยเพราะต้องการพาบิดาซึ่งป่วยเป็นโรคหัวใจไปให้พ้นจากบิดาจำเลยซึ่งชอบดื่มเหล้าแล้วส่งเสียงดัง โจทก์จำเลยเคยตกลงจะไปจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน แต่หย่ากันไม่ได้เพราะโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาและการแยกกันอยู่ดังกล่าวเป็นเวลานับถึงวันฟ้องเกิน 3 ปี แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตาม ม.1516 (4/2)( ฎ.1771/2540 , 8225/2540 ทำนองเดียวกัน ) (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ เป็นเวลาเกิน 3 ปี โดยไม่มีทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ ฎ.3461/2524 จำเลยซึ่งเป็นสามีถูกคนร้ายยิงหัวเข่าจนพิการงอขาไม่ได้ ต้องพักรักษาตัวอยู่กับบ้านไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรนั้น สามีไม่อยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูภริยาได้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้เป็นภริยาที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยผู้เป็นสามีตามมาตรา 1461 วรรคสอง ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์จึงฟังไม่ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยฎ.6023/2537 โจทก์ให้ความสนิทสนมกับ นางสาว ท. มากเกินกว่าที่ผู้บังคับบัญชาทั่วไปจะพึงปฏิบัติ ประกอบกับการที่โจทก์จงใจแยกตัวไปอยู่ต่างหากจากครอบครัวย่อมมีเหตุผลเพียงพอที่จำเลยในฐานะภริยาจะปักใจเชื่อว่าโจทก์และนางสาว ท. มีความสัมพันธ์กันทางชู้สาว การที่จำเลยมีหนังสือขอความเป็นธรรมไปยังผู้บังคับบัญชาโจทก์ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ในทางชู้สาวระหว่างโจทก์กับนางสาว ท. ในพฤติการณ์ที่จำเลยถูกกดดันทางการเงินโดยโจทก์ไม่ให้ความยินยอมในการกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำมาใช้สร้างบ้านอยู่อาศัยกับบุตรโดยไม่มีเหตุผล ทั้งที่เคยให้ความยินยอมมาแล้ว ตลอดทั้งจำเลยตกอยู่ในภาวะที่อาจสูญเสียโจทก์ผู้เป็นสามีไป จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จำเลยขวนขวายเพื่อขอความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชาโจทก์และเพื่อปกป้องสิทธิในครอบครัวตลอดจนบุตรผู้เยาว์ของตน ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย( ฎ.1932/2536 , 766/2526 ทำนองเดียวกัน ) (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ ฎ.2553/2526 ก่อนจดทะเบียนสมรสโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า “ ฝ่ายภริยาจะไม่ประพฤติตัวผิดจารีตประเพณีและให้อยู่กินปรนนิบัติในฐานะสามีภริยาอยู่กินร่วมกันตลอดไปและจะไม่ประพฤติปฏิบัตินอกใจสามีอีกต่อไป เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้กระทำผิดเงื่อนไขยินยอมให้ปรับเป็นเงิน 50,000 บาท “ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติของภริยาตามมาตรา 1516 (8) ซึ่งเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าภริยาได้ แต่ค่าปรับนั้นสูงเกินส่วนจึงให้ลดค่าปรับลงกึ่งหนึ่ง(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางจะหายได้ (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อายุความฟ้องหย่า ( มาตรา 1529 ) กำหนด 1 ปี ใช้เฉพาะเหตุหย่าที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงในคราวเดียว เช่น เหตุหย่าตาม มาตรา 1516 (1) (2) (3) (6) ส่วนเหตุหย่าที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปหรือเป็นการถาวร เช่น เหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4) (5) (7) (9) (10) ไม่มีอายุความ ตราบใดที่เหตุนั้น ๆ ยังมีอยู่ก็ฟ้องหย่าได้ เหตุฟ้องหย่าตาม ม.1516 (8) ไม่มีลักษณะต่อเนื่องกันไป แต่กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ผลของการหย่า (1) การใช้อำนาจปกครองบุตรมาตรา 1520 กรณีหย่าโดยความยินยอม ( มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง) หากตกลงกันได้ให้ทำเป็นหนังสือ (โดยระบุให้ชัดแจ้งว่า ) ฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ฎ.2565/2536 ข้อตกลงมีข้อความว่า “ให้บุตรอยู่ในความอุปการะของสามี” ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงกำหนดหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่ใช่ข้อตกลงในเรื่องอำนาจปกครองบุตรตามมาตรา 1520 อำนาจปกครองบุตรยังอยู่กับบิดาและมารดากรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ซึ่งศาลกำหนด( มาตรา 1520 วรรคท้าย ) (2) การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตร 1522 กรณีหย่าโดยความยินยอม ให้ตกลงกันไว้ในสัญญาหย่า หากฝ่ายใดผิดสัญญา อีกฝ่ายฟ้องได้ กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หรือ สัญญาหย่ามิได้ตกลงเรื่องค่าอุปการะไว้ ศาลเป็นผู้กำหนด (3) การเรียกค่าทดแทนมาตรา 1523 ( ก ) กรณีภริยามีชู้หรือมีการล่วงเกินภริยาในทางชู้สาว สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชายชู้ทั้งสองคน หรือฟ้องคนใดคนหนึ่งก็ได้ หากฟ้องทั้งสองคนต้องฟ้องหย่าภริยาและศาลพิพากษาให้หย่ากันด้วยเหตุภริยามีชู้ด้วย หากไม่ฟ้องหย่าภริยา สามีจะเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้ไม่ได้ แต่ถ้าสามีไม่ประสงค์จะฟ้องหย่าภริยา จะฟ้องเรียกค่าทดแทนเฉพาะจากชายชู้ก็ได้ โดยอ้างเหตุเพราะมีการล่วงเกินภริยาในทางชู้สาว ในกรณีเช่นนี้สามีจะเรียกค่าทดแทนจากภริยาไม่ได้เพราะมิได้ฟ้องหย่าภริยา ฎ.320/2530 การล่วงเกินภริยาในทางชู้สาว หมายถึงการทำชู้ด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภริยาในทางชู้สาวนี้กฎหมายมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าสามีจะต้องฟ้องหย่าภริยาเสียก่อนจึงจะมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นชู้กับภริยาโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ โดยไม่จำต้องฟ้องหย่าภริยาโจทก์ด้วย ฎ.454/2533 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นชู้กับจำเลยที่ 2 ภริยาโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่จำต้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ด้วย ( ข ) กรณีสามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากสามีและภริยาน้อยได้ ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเสียก่อน หากภริยาไม่ฟ้องหย่าต่อศาล ภริยามีสิทธิเพียงเรียกค่าทดแทนจากภริยาน้อยในฐานะที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทางชู้สาวเท่านั้น จะเรียกค่าทดแทนจากสามีไม่ได้ ฎ. 2940/2538 การเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทางชู้สาวนั้นมาตรา 1523 วรรคสอง มิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาต้องฟ้องหย่าสามีก่อนจึงเรียกค่าทดแทนได้ ( ค ) การเรียกค่าทดแทนตาม ( ก ) และ ( ข ) หากสามีหรือภริยาได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจด้วย สามีหรือภริยาจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้มาตรา 1523 วรรคท้าย (4) การเรียกค่าเลี้ยงชีพ 1) การหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายเดียวและการหย่าทำให้อีกฝ่ายยากจนลง มาตรา 1526 การหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายที่ถูกเรียกร้องแต่ฝ่ายเดียว การหย่าทำให้คู่สมรสนั้นต้องยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส คู่สมรสนั้นต้องเรียกค่าเลี้ยงชีพมาในคดีฟ้องหย่าด้วย จะเรียกค่าเลี้ยงชีพภายหลังไม่ได้มาตรา 1526 วรรคท้าย 2) กรณีหย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตหรือโรคติดต่ออย่างร้ายแรงมาตรา 1527 3) คู่สมรสตกลงชำระค่าเลี้ยงชีพกันเอง หากมิได้ตกลงชำระค่าเลี้ยงชีพกันไว้ในสัญญาหย่า จะฟ้องเรียกภายหลังไม่ได้ ฎ. 1228/2523 การที่โจทก์จำเลยสมัครใจหย่ากันเองนั้น ต่างฝ่ายต่างไม่มีหน้าที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูกันอีกต่อไป จะมีได้แต่ก็ค่าเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายยอมให้เรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะในกรณีที่มีคดีฟ้องหย่าต่อศาลซึ่งศาลจะวินิจฉัยว่าเหตุหย่าเกิดเพราะความผิดของใครตาม ม.1526 หากไม่มีการเรียกค่าเลี้ยงชีพไว้ในคดีฟ้องหย่า สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพก็เป็นอันสิ้นสุดลง ส่วนในกรณีคู่สมรสตกลงหย่ากันเองนั้น คู่กรณีชอบที่จะตกลงในเรื่องค่าเลี้ยงชีพกันไว้ ฉะนั้น เมื่อสัญญาหย่าระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้มีการตกลงเรื่องค่าเลี้ยงชีพไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากจำเลย สัญญาที่คู่สมรสตกลงจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่กัน ไม่ใช่ สัญญาระหว่างสมรสตามมาตรา 1469 ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างได้ แต่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526 ( ฎีกาที่ 1365/2522 ) 4) การเลิกชำระค่าเลี้ยงชีพ เมื่อฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพย่อมหมดไปมาตรา 1528 5) สิทธิที่จะได้รับค่าเลี้ยงชีพจะสละหรือโอนไม่ได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีมาตรา 1598/41 ผลของการหย่า 1) การเริ่มต้นในผลของการหย่า ในกรณีหย่าโดยความยินยอม นับแต่เวลาจดทะเบียนหย่ามาตรา1531 วรรคหนึ่ง ในกรณีหย่าตามคำพิพากษา นับแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดมาตรา.1531 วรรคสอง 2) การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ( ก ) เวลากำหนดจำนวนทรัพย์สิน กรณีหย่าโดยความยินยอม ตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่า กรณีหย่าตามคำพิพากษา ตามที่มีอยู่ในวันฟ้องหย่า อายุความฟ้องขอแบ่ง 10 ปี สินสมรสที่ยังไม่ได้แบ่งกัน ถือว่าสามีภริยาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ( ข ) วิธีแบ่งทรัพย์สิน 1) มาตรา 1533 สินสมรสให้แบ่งเท่ากัน(ต้องจดจำ โยงไปมรดกมาตรา 1625)มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนแบ่งเท่ากัน2) มาตรา 1534 ถ้าสินสมรสขาดหายไป เพราะเหตุว่าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้จำหน่ายไป(1) เพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว (2) โดยเจตนาให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย (3) โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง (4) จงใจทำให้เสียหาย ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งตาม มาตรา 1533 และถ้าอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วนแบ่งไม่ครบจำนวนที่ควรจะได้ ให้คู่สมรสที่จำหน่ายสินสมรสไปเพราะเหตุดังกล่าว ชดใช้จากสินสมรสในส่วนของตนหรือจากสินส่วนตัว ฎ.1254/2538 สินสมรสบางรายการจำเลยจำหน่ายไปแล้วและบางรายการยังมีอยู่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยนำหรือจะนำไปใช้ในกิจการที่จำเลยกับโจทก์กระทำร่วมกันหรือนำไปชำระหนี้ที่โจทก์และจำเลยร่วมกันก่อขึ้น ทั้งจำเลยจำหน่ายสินสมรสไปในระหว่างที่โจทก์มิได้อาศัยอยู่กับจำเลย เช่นนี้ เห็นได้ว่าจำเลยจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ ย่อมถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อการจัดแบ่งตามมาตรา 1534 โจทก์มีสิทธิของแบ่งสินสมรสนี้ได้กึ่งหนึ่ง ฎ.7961/2544 ป.พ.พ.มาตรา 1534 ที่บัญญัติว่า “ สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไป....ให้ถือเสมือนว่ายังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งตามมาตรา 1533...” เป็นการแบ่งสินสมรสที่ฝ่ายหนึ่งจำหน่ายจ่ายโอนไปหรือทำให้สูญหายไปโดยมิชอบ ในกรณีที่หย่ากันให้แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ชายหญิงได้เท่ากัน ( โดยคิดจำนวนทรัพย์สินตามที่มีอยู่ในวันจดทะเบียนหย่าหรือวันที่ฟ้องหย่า แล้วแต่กรณี ) แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งในฐานะเจ้าของรวม จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 1534 ดังกล่าว โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยขายที่ดินไปได้เงินเท่าใด โจทก์ก็ควรได้รับกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ขายได้ มิใช่กึ่งหนึ่งของราคาที่ดินปัจจุบัน3) ความรับผิดในหนี้สิน มาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน ฎ.2980/2533 จำเลยกู้เงินบุคคลภายนอกมาใช้จ่ายเกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นสินสมรสโดยโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการกู้เงินดังกล่าว โจทก์จึงต้องรับผิดในหนี้รายนี้ร่วมกับจำเลย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากัน ศาลย่อมกำหนดให้โจทก์จำเลยร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้คนละครึ่ง ฎ.2396/2517 ลูกหนี้ร่วมทุกคนต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นเชิงตามมาตรา 291 สามีภริยาซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้ร่วมจะได้รับชำระเสร็จสิ้นไปเช่นกัน แม้สามีภริยาจะได้หย่าและแบ่งทรัพย์สินหรือแบ่งความรับผิดในหนี้สินต่อกันแล้ว ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากสามีหรือภริยาคนใดคนหนึ่งจนกว่าจะได้รับชำระเสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น ในคดีที่สามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส จำเลยจะขอให้หักหนี้ร่วมออกเพื่อจำเลยจะได้นำไปชำระแก่เจ้าหนี้ คงให้แบ่งสินสมรสกันแต่ส่วนที่เหลือ หาได้ไม่ เพราะหากจำเลยไม่นำไปชำระเจ้าหนี้ก็จะต้องมาบังคับเอากับโจทก์ได้
#5
21 February 2009, 02:45

คนตัวเล็ก
สัตว์เลี้ยง Slowpoke

เป็นสมาชิกเมื่อ: Feb 2009
ตอบ: 1,080

4) สิทธิและหน้าที่ระหว่างบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม มาตรา 1598/28 บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตร ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วข้อสังเกต (1) บุตรบุญธรรมมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมมาตรา 1598/28 บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครอง ตั้งแต่วันที่เป็นบุตรบุญธรรม แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ให้กำเนิด เช่น มีสิทธิใช้นามสกุล มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา บิดามารดาเดิมมีสิทธิฟ้องผู้กระทำละเมิดให้บุตรบุญธรรมตาย ฎ. 899/2535 โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรอันเกิดจากโจทก์กับจำเลยตามที่จำเลยให้สัญญาไว้ขณะจดทะเบียนหย่าได้ แม้ภายหลังโจทก์ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น แต่บุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ให้กำเนิดตาม มาตรา 1598/28 ข้อสังเกตแม้ต่อมาผู้รับบุตรบุญธรรมจะถึงแก่ความตาย ความเป็นบุตรบุญธรรมยังคงอยู่ บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1627 บุตรของบุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกแทนที่บุตรบุญธรรมได้ตามมาตรา 1639 แต่บุตรบุญธรรมจะรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงตามมาตรา 1643 ซึ่งหมายถึงผู้สืบสันดานในทางสายโลหิตเท่านั้น ฎ.773/2528 บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงตามมาตรา 1643 ซึ่งหมายถึงผู้สืบสันดานทางสายโลหิต จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม (2) ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม มาตรา 1598/29 การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น(3) ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ตนให้แก่บุตรบุญธรรมคืน (เฉพาะส่วนที่เหลือภายหลังชำระหนี้กองมรดกแล้ว ) ถ้าบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายก่อนตนมาตรา 1598/30 5) การเลิกรับบุตรบุญธรรม1.การตกลงเลิกรับบุตรบุญธรรม 1) ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว ตกลงเลิกเมื่อใดก็ได้ 2) ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะผู้รับบุตรบุญธรรมกับบิดามารดาตกลงกัน ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บุตรบุญธรรมต้องยินยอมด้วย 3) ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ และการรับบุตรบุญธรรมได้กระทำโดยคำสั่งศาลก็ดี หรือเป็นการรับผู้เยาว์ที่ถูกทอดทิ้งหรืออยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์เด็ก หรือเป็นการรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของตนอยู่แล้วเป็นบุตรบุญธรรมของตน ต้องมีคำสั่งศาล2.เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมสมรสกันมาตรา 1598/32 มีผลให้การรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิก 3.การฟ้องคดีเลิกรับบุตรบุญธรรมมาตรา 1598/33 ข้อจำกัดของบุตรบุญธรรมในการฟ้องคดีมาตรา 1598/35 (1) ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุต่ำกว่า 15 ปี บิดามารดาโดยกำเนิดเป็นผู้ฟ้องแทน (2) ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุตั้งแต่ 15 ปี ฟ้องได้เอง โดยไม่ต้องให้บิดามารดาอนุญาต (3) พนักงานอัยการฟ้องเอง อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรมมาตรา 1598/34(1) ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือ ควรรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้น หรือ (2) ฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่เกิดเหตุนั้น บรรณานุกรม รวมคำบรรยายภาคหนึ่งสมัยที่ 58-60 วิชา ครอบครัว อาจารย์ผู้สอน ศาสตราจารย์พิเศษ ประสพสุข บุญเดช หลักกฎหมายครอบครัว ผู้แต่งโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ประสพสุข บุญเดช สำนักพิมพ์วิญญูชน พิมพ์ครั้งที่ 6 เดือนพฤษภาคม 2547